เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
สมณะควรสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยการเที่ยวแสวงหา
จึงจะเป็นการเหมาะสม เสนาสนะที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควร
อยู่ที่โคนไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่กลางแจ้ง จึงจะเป็นการเหมาะสม คิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควรทำยาด้วยน้ำมูตรเน่า
หรือชิ้นลูกสมอ จึงจะเป็นการเหมาะสม
เพราะต้องการได้ให้มากยิ่งขึ้นนั้น เธอจึงครองจีวรเศร้าหมอง ฉันบิณฑบาต
เศร้าหมอง ใช้สอยเสนาสนะซอมซ่อ ใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ คหบดี
ทั้งหลายรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “สมณะรูปนี้ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงบสงัด
ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดขัดเกลา” ก็ยิ่งนิมนต์เธอให้
รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมากยิ่งขึ้น เธอจึงพูด
อย่างนี้ว่า “เพราะพรั่งพร้อมด้วยเหตุ 3 ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบ
บุญมาก คือ เพราะพรั่งพร้อมด้วยศรัทธา ... เพราะพรั่งพร้อมด้วยไทยธรรม ...
เพราะพรั่งพร้อมด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก
ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ ไทยธรรมนี้ก็มีอยู่พร้อม ทั้งอาตมภาพก็เป็นปฏิคาหก
ถ้าอาตมภาพไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไปเสีย อาตมภาพมิได้มีความต้องการ
ด้วยปัจจัยนี้ แต่จักรับเพื่ออนุเคราะห์พวกท่าน” เพราะอาศัยเหตุนั้น เธอจึงรับจีวร
มากมาย รับบิณฑบาตมากมาย รับเสนาสนะมากมาย รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
มากมาย การทำหน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะ
ที่หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้สอยปัจจัย
ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก
ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้
จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ตั้งสติเดิน
ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำทีเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน เหมือนภิกษุมีสมาธิยืน
เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง เหมือนภิกษุมีสมาธินอน เป็นเหมือนภิกษุเจริญฌานอวด
ต่อหน้า การตั้งท่า การวางท่า การดำรงมั่นอิริยาบถ การทำหน้านิ่ว การทำคิ้ว
ขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า
ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :456 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก
ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้”
จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือพูดว่า “ภิกษุผู้ทรงจีวรมีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมี
ศักดิ์ใหญ่ ผู้ใช้บาตร ใช้ภาชนะโลหะ ใช้ธมกรก ใช้ผ้ากรองน้ำ ใช้ลูกกุญแจ ใช้รองเท้า
ใช้ประคดเอว ใช้สายโยกบาตร มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า
“ภิกษุผู้มีอุปัชฌาย์ระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ มีอาจารย์ระดับนี้ ฯลฯ มีผู้ร่วม
อุปัชฌาย์ระดับนี้ ฯลฯ มีผู้ร่วมอาจารย์ระดับนี้ ฯลฯ มีมิตร ฯลฯ มีพรรคพวก ฯลฯ
มีคนที่คบหากัน ฯลฯ มีสหายระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า “ภิกษุผู้อยู่
ในวิหารมีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ ฯลฯ อยู่ในเรือนมีหลังคาด้านเดียว
มีรูปแบบอย่างนี้ ฯลฯ อยู่ในปราสาท ฯลฯ อยู่ในเรือนโล้น ฯลฯ อยู่ในถ้ำ ฯลฯ
อยู่ในที่หลีกเร้น ฯลฯ อยู่ในกุฎี ฯลฯ อยู่ในเรือนยอด ฯลฯ อยู่ที่ป้อม ฯลฯ อยู่ใน
โรงกลม ฯลฯ อยู่ในเรือนพัก ฯลฯ อยู่ในเรือนรับรอง ฯลฯ อยู่ในมณฑป ฯลฯ อยู่
ที่โคนไม้ มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่”
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด โกหกหลอกลวง
ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง เป็นผู้ได้รับยกย่องด้วยการวางหน้าว่า “สมณะนี้ได้วิหาร-
สมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันเกี่ยวเนื่องด้วย
โลกุตตรธรรม และสุญญตนิพพาน อันลึกซึ้ง เร้นลับ ละเอียดอ่อน ปิดบัง การทำ
หน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวงเห็น
ปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความหลอกลวง 3 อย่างเหล่านี้ได้แล้ว คือ ตัดขาด
ได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าไม่หลอกลวง
คำว่า ไม่กระหาย อธิบายว่า ตัณหาเรียกว่า ความกระหาย ได้แก่ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :457 }