เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว(คือธรรม)เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้
เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[140] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย
วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล
ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (10)
คำว่า บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้
สำหรับบุคคล ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มี-
พระภาคได้ตรัสไว้ว่า “อานนท์ ข้อที่ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ
บันเทิงอยู่ในคณะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ จักเป็นผู้ได้
เนกขัมมสุข(สุขจากการหลีกออกบวช) ปวิเวกสุข(สุขจากความสงัด) อุปสมสุข(สุข
จากความเข้าไปสงบ) สัมโพธิสุข(สุขจากการตรัสรู้) ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
โดยไม่ลำบาก เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อานนท์ ข้อที่ภิกษุใดหลีกออกจากคณะ อยู่
ตามลำพังผู้เดียว ภิกษุนั้นพึงหวังเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข
จักเป็นผู้ได้สุขนั้นตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
อานนท์ ข้อที่ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่ในคณะ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ จักบรรลุเจโตวิมุตติซึ่งเกิดขึ้นตาม
สมัย อันน่ายินดี หรือ โลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้นตามสมัย อันไม่กำเริบ ย่อมเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :451 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ไปไม่ได้ อานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว ภิกษุนั้น
พึงหวัง คือ จักบรรลุเจโตวิมุตติ ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค
ซึ่งมิได้เกิดขึ้น ตามสมัย อันไม่กำเริบ ย่อมเป็นไปได้”1 รวมความว่า บุคคลสัมผัส
วิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคลผู้ยินดีการคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ
คำว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์แล้ว อธิบายว่า พระสุริยะเรียกว่า พระอาทิตย์ พระสุริยะนั้น
เป็นพระโคดมโดยพระโคตร แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นพระโคดมโดยพระโคตร
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์ คือ เป็นเผ่าพันธุ์โดย
โคตรพระอาทิตย์ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่าเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระ
อาทิตย์
คำว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์แล้ว อธิบายว่า ฟัง คือ สดับ เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดถ้อยคำ
คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนของพระผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์ รวมความว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย
วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล
ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ทุติยวรรค จบ

เชิงอรรถ :
1 ม.อุ. 14/186/160, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/30/42

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :452 }