เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว(คือธรรม)เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้
เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[140] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย
วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล
ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (10)
คำว่า บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้
สำหรับบุคคล ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มี-
พระภาคได้ตรัสไว้ว่า “อานนท์ ข้อที่ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ
บันเทิงอยู่ในคณะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ จักเป็นผู้ได้
เนกขัมมสุข(สุขจากการหลีกออกบวช) ปวิเวกสุข(สุขจากความสงัด) อุปสมสุข(สุข
จากความเข้าไปสงบ) สัมโพธิสุข(สุขจากการตรัสรู้) ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
โดยไม่ลำบาก เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อานนท์ ข้อที่ภิกษุใดหลีกออกจากคณะ อยู่
ตามลำพังผู้เดียว ภิกษุนั้นพึงหวังเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข
จักเป็นผู้ได้สุขนั้นตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
อานนท์ ข้อที่ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่ในคณะ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ จักบรรลุเจโตวิมุตติซึ่งเกิดขึ้นตาม
สมัย อันน่ายินดี หรือ โลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้นตามสมัย อันไม่กำเริบ ย่อมเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :451 }