เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อธิบายว่า
ช้างตัวประเสริฐนั้น มีขันธ์เกิดดีแล้ว คือ เป็นช้างสูง 7 ศอกบ้าง สูง 8
ศอกบ้าง ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็มีขันธ์เกิดดีแล้วด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ สมาธิ-
ขันธ์อันเป็นอเสขะ ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ วิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ฉันนั้น
ช้างตัวประเสริฐนั้น ชื่อว่าปทุมี1 ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ชื่อว่าปทุมี ฉันนั้น เพราะมีดอกบัวคือโพชฌงค์ 7
ประการ ได้แก่ ดอกบัวคือสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ช้างตัวประเสริฐนั้น ยิ่งใหญ่ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเร็ว ความกล้า ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนะ ฉันนั้น รวมความว่า มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีดอกบัว (คือธรรม)
เป็นผู้ยิ่งใหญ่
คำว่า อยู่ในป่าตามชอบใจได้ อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น อยู่ในป่าตาม
ชอบใจได้ ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็อยู่ในป่าตามชอบใจได้ ฉันนั้น คือ
อยู่ในป่าตามชอบใจได้ด้วยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ฯลฯ ตติยฌานบ้าง ฯลฯ
จตุตถฌานบ้าง เมตตาเจโตวิมุตติบ้าง กรุณาเจโตวิมุตติบ้าง ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ
บ้าง ฯลฯ อุเปกขาเจโตวิมุตติบ้าง อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ นิโรธสมาบัติบ้าง ฯลฯ อยู่ในป่าตามชอบใจได้ด้วย
ผลสมาบัติบ้าง รวมความว่า อยู่ในป่าตามชอบใจได้ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน
นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 ปทุมี ในที่นี้หมายถึง มีร่างกายเช่นดังดอกบัว หรือเพราะเกิดในตระกูลช้างชื่อปทุม (ขุ.จู.อ. 139/132)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :450 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว(คือธรรม)เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้
เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[140] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย
วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล
ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (10)
คำว่า บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้
สำหรับบุคคล ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มี-
พระภาคได้ตรัสไว้ว่า “อานนท์ ข้อที่ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ
บันเทิงอยู่ในคณะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ จักเป็นผู้ได้
เนกขัมมสุข(สุขจากการหลีกออกบวช) ปวิเวกสุข(สุขจากความสงัด) อุปสมสุข(สุข
จากความเข้าไปสงบ) สัมโพธิสุข(สุขจากการตรัสรู้) ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
โดยไม่ลำบาก เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อานนท์ ข้อที่ภิกษุใดหลีกออกจากคณะ อยู่
ตามลำพังผู้เดียว ภิกษุนั้นพึงหวังเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข
จักเป็นผู้ได้สุขนั้นตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
อานนท์ ข้อที่ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่ในคณะ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีด้วยคณะ จักบรรลุเจโตวิมุตติซึ่งเกิดขึ้นตาม
สมัย อันน่ายินดี หรือ โลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้นตามสมัย อันไม่กำเริบ ย่อมเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :451 }