เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึง เป็นอย่างไร
คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ
ไม่ถึงภยาคติ1 พระองค์ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโทสะ
ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจ
ทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไป
ด้วยอำนาจอนุสัย คือ ไม่ดำเนินไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรม
ที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึง
เป็นอย่างนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างไร
คือ กิเลสเหล่าใดพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค พระ
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ
ด้วยอรหัตตมรรค ท่านก็ไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก พระ
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างนี้
คำว่า เหมือนนาคะละทิ้งโขลงแล้ว อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น ละทิ้ง คือ
ทอดทิ้ง ปล่อยทิ้งโขลงแล้ว ตัวเดียว เหยียบย่างเข้าไปในท่ามกลางป่าดง คือ อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ละทิ้ง คือ ทอดทิ้ง ปล่อยทิ้งหมู่คณะแล้ว ประพฤติ
อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด คือ ใช้สอยเสนาสนะ เป็นป่าทึบและป่าละเมาะอันสงัด
มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นตามลำพังผู้เดียว ท่านไปผู้เดียว
ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว
นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า เหมือนนาคะ ละทิ้ง
โขลงแล้ว

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 27/145-146

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :449 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อธิบายว่า
ช้างตัวประเสริฐนั้น มีขันธ์เกิดดีแล้ว คือ เป็นช้างสูง 7 ศอกบ้าง สูง 8
ศอกบ้าง ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็มีขันธ์เกิดดีแล้วด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ สมาธิ-
ขันธ์อันเป็นอเสขะ ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ วิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ฉันนั้น
ช้างตัวประเสริฐนั้น ชื่อว่าปทุมี1 ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ชื่อว่าปทุมี ฉันนั้น เพราะมีดอกบัวคือโพชฌงค์ 7
ประการ ได้แก่ ดอกบัวคือสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ช้างตัวประเสริฐนั้น ยิ่งใหญ่ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเร็ว ความกล้า ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนะ ฉันนั้น รวมความว่า มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีดอกบัว (คือธรรม)
เป็นผู้ยิ่งใหญ่
คำว่า อยู่ในป่าตามชอบใจได้ อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น อยู่ในป่าตาม
ชอบใจได้ ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็อยู่ในป่าตามชอบใจได้ ฉันนั้น คือ
อยู่ในป่าตามชอบใจได้ด้วยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ฯลฯ ตติยฌานบ้าง ฯลฯ
จตุตถฌานบ้าง เมตตาเจโตวิมุตติบ้าง กรุณาเจโตวิมุตติบ้าง ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ
บ้าง ฯลฯ อุเปกขาเจโตวิมุตติบ้าง อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติบ้าง ฯลฯ นิโรธสมาบัติบ้าง ฯลฯ อยู่ในป่าตามชอบใจได้ด้วย
ผลสมาบัติบ้าง รวมความว่า อยู่ในป่าตามชอบใจได้ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน
นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 ปทุมี ในที่นี้หมายถึง มีร่างกายเช่นดังดอกบัว หรือเพราะเกิดในตระกูลช้างชื่อปทุม (ขุ.จู.อ. 139/132)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :450 }