เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
[139] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว(คือธรรม)เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้
เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (9)
คำว่า ละทิ้งหมู่ ... เหมือนนาคะ อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐเรียกว่า นาคะ
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ชื่อว่านาคะ เพราะเหตุไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึง
ชื่อว่านาคะ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่
กลับมาหา
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป
ตรัสเรียกว่า ความชั่ว
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก
สลัดสังโยชน์เครื่องผูกพันได้ทั้งหมด
ไม่ติดข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
ดำรงตนมั่นคงเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า นาคะ1
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/528/437

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :448 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึง เป็นอย่างไร
คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ
ไม่ถึงภยาคติ1 พระองค์ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโทสะ
ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจ
ทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไป
ด้วยอำนาจอนุสัย คือ ไม่ดำเนินไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรม
ที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึง
เป็นอย่างนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างไร
คือ กิเลสเหล่าใดพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค พระ
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ
ด้วยอรหัตตมรรค ท่านก็ไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก พระ
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างนี้
คำว่า เหมือนนาคะละทิ้งโขลงแล้ว อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น ละทิ้ง คือ
ทอดทิ้ง ปล่อยทิ้งโขลงแล้ว ตัวเดียว เหยียบย่างเข้าไปในท่ามกลางป่าดง คือ อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ละทิ้ง คือ ทอดทิ้ง ปล่อยทิ้งหมู่คณะแล้ว ประพฤติ
อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด คือ ใช้สอยเสนาสนะ เป็นป่าทึบและป่าละเมาะอันสงัด
มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นตามลำพังผู้เดียว ท่านไปผู้เดียว
ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว
นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า เหมือนนาคะ ละทิ้ง
โขลงแล้ว

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 27/145-146

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :449 }