เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
[138] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
เราครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้ คือ
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (8)
คำว่า ความหนาว ในคำว่า ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ
กระหาย อธิบายว่า ความหนาวย่อมมีด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ (1) ความหนาว
ด้วยอำนาจธาตุกำเริบภายใน (2) ความหนาวด้วยอำนาจฤดูภายนอก
คำว่า ความร้อน อธิบายว่า ความร้อนย่อมมีด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ
(1) ความร้อนด้วยอำนาจธาตุกำเริบภายใน (2) ความร้อนด้วยอำนาจฤดูภายนอก
ความหิวโหย เรียกว่า ความหิว ความกระหายน้ำ เรียกว่า ความกระหาย
รวมความว่า ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
คำว่า ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลาน อธิบายว่า
คำว่า ลม ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่น
ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว ลมร้อน ลมพัดเบา ลมพัดแรง ลมบ้าหมู ลมจากปีกนก
ลมจากปีกครุฑ ลมจากใบตาล ลมจากพัด ความร้อนจากดวงอาทิตย์ เรียกว่า แดด
แมลงวันหัวเหลือง เรียกว่า เหลือบ
งู เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน รวมความว่า ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลาน
คำว่า เราครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้ อธิบายว่า ครอบงำ คือ ท่วมทับ รัดรึง
ย่ำยีแล้ว รวมความว่า เราครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว
เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
เราครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้ คือ
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :447 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
[139] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว(คือธรรม)เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้
เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (9)
คำว่า ละทิ้งหมู่ ... เหมือนนาคะ อธิบายว่า ช้างตัวประเสริฐเรียกว่า นาคะ
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ชื่อว่านาคะ เพราะเหตุไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึง
ชื่อว่านาคะ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ถึง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่
กลับมาหา
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป
ตรัสเรียกว่า ความชั่ว
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก
สลัดสังโยชน์เครื่องผูกพันได้ทั้งหมด
ไม่ติดข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
ดำรงตนมั่นคงเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า นาคะ1
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/528/437

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :448 }