เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ด้วยอาการอย่างนี้ การกล่าววาจา
หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน พึงมีแก่เรา
เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[136] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
เพราะกามทั้งหลายสวยงาม
มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ
ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ
เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (6)
คำว่า กาม ในคำว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ
ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้
เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม1
คำว่า สวยงาม อธิบายว่า มีรูปชนิดต่าง ๆ มีเสียงชนิดต่าง ๆ มีกลิ่นชนิด
ต่าง ๆ มีรสชนิดต่าง ๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
คำว่า มีรสอร่อย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย กามคุณมี 5 อย่างเหล่านี้ 5 อย่างอะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :441 }