เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
หรือเป็นที่ 4 ของบุคคล 3 คน พูดเรื่องเพ้อเจ้อมากมายในที่นั้น คือ พูดเรื่อง
พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว
เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องระเบียบดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่อง
ยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคน
กล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม อย่างนั้นอย่างนี้ บุคคลเป็นเพื่อนที่สอง
เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ... กับเพื่อนพึงมีแก่เรา
คำว่า การกล่าววาจา หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน อธิบายว่า เดรัจฉาน-
กถา1 32 เรียกว่า การกล่าววาจา คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่อง
ความเจริญและความเสื่อมอย่างนั้นอย่างนี้
คำว่า ความเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง 2 อย่าง คือ (1) ความเกี่ยวข้อง
ด้วยอำนาจตัณหา (2) ความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้อง
ด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ2 รวมความว่า
การกล่าววาจา หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน
คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย
ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย อัตตานุวาทภัย ปรานุวาทภัย ทัณฑภัย ทุคติภัย
อูมิภัย กุมภีลภัย อาวัฏฏภัย สุงสุมารภัย3 อาชีวิกภัย อสิโลกภัย ปริสสารัชชภัย
มทนภัย เหตุที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ใจหวาดเสียว ความ
สะดุ้ง
คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป อธิบายว่า บุคคลเมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น
มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นภัยนี้ต่อไป รวมความว่า เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง
กล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 เดรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน (ที.สี.อ. 18/84)
2 เทียบกับความในข้อ 124/414
3 ดูคำแปลจากข้อ 123/411,องฺ.จตุกฺก.(แปล) 21/119-122/181-186

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :440 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ด้วยอาการอย่างนี้ การกล่าววาจา
หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน พึงมีแก่เรา
เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[136] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
เพราะกามทั้งหลายสวยงาม
มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ
ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ
เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (6)
คำว่า กาม ในคำว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ
ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้
เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม1
คำว่า สวยงาม อธิบายว่า มีรูปชนิดต่าง ๆ มีเสียงชนิดต่าง ๆ มีกลิ่นชนิด
ต่าง ๆ มีรสชนิดต่าง ๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
คำว่า มีรสอร่อย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย กามคุณมี 5 อย่างเหล่านี้ 5 อย่างอะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :441 }