เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
เมื่อสืบสาน ก็ย่อมประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป
ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า 2 วง ... กระทบกันอยู่ที่ข้อมือ จึงประพฤติอยู่
ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
บุคคลเห็นกำไลทอง 2 วง อันสุกปลั่ง
ที่ช่างทองทำสำเร็จอย่างดี กระทบกันอยู่ที่ข้อมือแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[135] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
ด้วยอาการอย่างนี้ การกล่าววาจา
หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน พึงมีแก่เรา
เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (5)
คำว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ... กับเพื่อน พึงมีแก่เรา อธิบายว่า ตัณหาเป็น
เพื่อนก็มี บุคคลเป็นเพื่อนก็มี
ตัณหาเป็นเพื่อน เป็นอย่างไร
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธัมมตัณหา ผู้ใดยังละตัณหานี้ไม่ได้ ผู้นั้นเรียกว่า ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน
ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏ
ที่มีความเป็นอย่างนี้และความเป็นอย่างอื่น1
ตัณหาเป็นเพื่อน เป็นอย่างนี้
บุคคลเป็นเพื่อน เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ มิใช่เพราะเหตุที่เป็นประโยชน์
มิใช่เพราะมีเหตุการณ์ เป็นบุคคลที่ 2 ของคนผู้เดียว เป็นที่ 3 ของบุคคล 2 คน

เชิงอรรถ :
1 องฺ.จตุกฺก.(แปล) 21/9/15,257/374

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :439 }