เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์
ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว ฉะนั้น
[133] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้
บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน
ถ้าบุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้
พึงเป็นผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ
ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (3)
คำว่า โดยแท้ ในคำว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ นี้เป็นคำกล่าว
นัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าว
โดยไม่เป็น 2 นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น 2 อย่าง เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำ
กล่าวโดยไม่ผิด คำว่า โดยแท้นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว
คำว่า สหายสัมปทา อธิบายว่า สหายผู้เพียบพร้อมด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
ด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยวิมุตติ-
ขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ เรียกว่า
สหายสัมปทา
คำว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ อธิบายว่า เราสรรเสริญ คือ
ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณสหายสัมปทา รวมความว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทา
โดยแท้
คำว่า บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน อธิบายว่า สหาย
ผู้ประเสริฐด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สหายผู้เสมอกัน
คือผู้เช่นเดียวกัน จึงควรคบหา คือ ควรคบ ควรนั่งใกล้ ควรไต่ถาม ควรสอบถาม
รวมความว่า บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :436 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ว่าด้วยบุคคลผู้บริโภคปัจจัยที่มีโทษและไม่มีโทษ
คำว่า ถ้าบุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึงเป็นผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษแล้ว
อธิบายว่า บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษก็มี ผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษก็มี
บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้แล้ว ได้รับแล้ว ได้เฉพาะแล้ว สมหวังแล้ว
ประสบแล้วซึ่งปัจจัย เลี้ยงชีพด้วยการโกหก ด้วยการพูดเลียบเคียง ด้วยการทำนิมิต
ด้วยการกำจัดคุณเขา ด้วยการต่อลาภด้วยลาภ ด้วยการให้ไม้ ด้วยการให้ไม้ไผ่
ด้วยการให้ใบไม้ ด้วยการให้ดอกไม้ ด้วยการให้ผลไม้ ด้วยการให้น้ำอาบ ด้วยการ
ให้แป้งจุรณ์ ด้วยการให้ดินสอพอง ด้วยการให้ไม้สีฟัน ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก
ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารู้จักตน ด้วยคำพูดเหลาะแหละเหมือนแกงถั่ว ด้วยกิริยาประจบ
ด้วยการขัดตั่งตีสนิทเขา ด้วยวิชาดูพื้นที่ ด้วยเดรัจฉานวิชา ด้วยวิชาทำนายลักษณะ
อวัยวะ ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม ด้วยการเดินทำหน้าที่ทูต ด้วยการเดินเป็นคนรับใช้
ด้วยการเดินสื่อสาร ด้วยเวชกรรม ด้วยนวกรรม ด้วยการใช้ก้อนข้าวตอบแทน
ก้อนข้าว ด้วยการให้และการเพิ่มให้ โดยมิชอบ ไม่ยุติธรรม นี้เรียกว่า บุคคลผู้
บริโภคปัจจัยอันมีโทษ
บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้แล้ว ได้รับแล้ว ได้เฉพาะแล้ว สมหวังแล้ว
ประสบแล้วซึ่งปัจจัย เลี้ยงชีพโดยชอบธรรม โดยยุติธรรม มิใช่ด้วยการโกหก มิใช่
ด้วยการพูดเลียบเคียง มิใช่ด้วยการทำนิมิต มิใช่ด้วยการกำจัดคุณเขา มิใช่ด้วยการ
ต่อลาภด้วยลาภ มิใช่ด้วยการให้ไม้ มิใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่ มิใช่ด้วยการให้ใบไม้
มิใช่ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ด้วยการให้น้ำอาบ มิใช่ด้วยการให้
แป้งจุรณ์ มิใช่ด้วยการให้ดินสอพอง มิใช่ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ด้วยการให้น้ำ
บ้วนปาก มิใช่ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารู้จักตน มิใช่ด้วยคำพูดเหลาะแหละเหมือนแกงถั่ว
มิใช่ด้วยกิริยาประจบ มิใช่ด้วยการขัดตั่งตีสนิทเขา มิใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ด้วย
เดรัจฉานวิชา มิใช่ด้วยวิชาทำนายลักษณะอวัยวะ มิใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม มิใช่ด้วย
การเดินทำหน้าที่ทูต มิใช่ด้วยการเดินเป็นคนรับใช้ มิใช่ด้วยการเดินสื่อสาร มิใช่
ด้วยเวชกรรม มิใช่ด้วยนวกรรม มิใช่ด้วยการใช้ก้อนข้าวตอบแทนก้อนข้าว มิใช่ด้วย
การให้และการเพิ่มให้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :437 }