เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก้าวไปข้างหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง
ไม่หนี ละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าหมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้กล้าหาญ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเว้นขาดจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้
ก้าวล่วงทุกข์ในนรก อยู่ด้วยความเพียร มีความเพียร
มีความมุ่งมั่น แกล้วกล้า มั่นคง เรียกได้ว่า เป็นอย่างนั้น
บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา
ที่สวน เงิน ทอง หมู่บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง
และวัตถุที่น่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า เครื่องผูกพันของคฤหัสถ์
คำว่า ผู้กล้าหาญ ... ตัดเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้กล้าหาญ ตัด คือ ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้
หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ รวมความว่า ผู้กล้าหาญ
... ตัดเครื่อง ผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วย
เหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้กล้าหาญ
ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว
ตัดเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว
เหมือนต้นทองหลางที่ใบร่วงหล่นแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ปฐมวรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :432 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ทุติยวรรค
[131] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์
ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น
มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น (1)
คำว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน อธิบายว่า ถ้าบุคคลพึงได้
คือ พึงได้รับ สมหวัง ประสบสหายผู้มีปัญญารักษาตน คือ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลาย กิเลส
รวมความว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน
คำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ ในคำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็น
นักปราชญ์ ได้แก่ เที่ยวไปร่วมกันได้
คำว่า เป็นสาธุวิหารี อธิบายว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสาธุวิหารี
ผู้เพียบพร้อมด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ชื่อว่าสาธุวิหารี
ผู้เพียบพร้อมด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วย
กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ชื่อว่าสาธุวิหารี
ผู้เพียบพร้อมด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยนิโรธสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วย
ผลสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี
คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี
ปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลาย กิเลส รวม
ความว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :433 }