เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
อาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ ความ
หมั่นเจริญสติปัฏฐาน 4 ความหมั่นเจริญสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ อิทธิบาท 4 ฯลฯ
อินทรีย์ 5 ฯลฯ พละ 5 ฯลฯ โพชฌงค์ 7 ความหมั่นเจริญอริยมรรคมีองค์ 8
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างนี้
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลกรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย
เปรียบเหมือนสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู สัตว์ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ สัตว์ที่อาศัย
ป่าย่อมอยู่ในป่า สัตว์ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่บนต้นไม้ ฉันใด บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมเกิดในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ชื่อว่าอันตราย
เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก1 ผู้
มีอาจารย์2 ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก ผู้มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่
ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอันเตวาสิก
บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า
“ผู้มีอาจารย์”
อีกนัยหนึ่ง บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะได้ยินเสียงทางหู ฯลฯ เพราะได้กลิ่นทางจมูก ฯลฯ
เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ เพราะได้รับสัมผัสทางกาย ฯลฯ เพราะรู้ธรรมารมณ์
ทางใจ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้มีอันเตวาสิก” บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
1 อันเตวาสิก ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน (สํ.สฬา.อ. 3/151-152/55)
2 อาจารย์ ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่ฟุ้งขึ้น (สํ.สฬา.อ. 3/151-152/55)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :426 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น1 เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ภิกษุผู้มี
อันเตวาสิก ผู้มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย อย่างนี้แล ที่ชื่อว่าอันตราย
เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้

ว่าด้วยธรรม 3 ประการ เป็นมลทินภายใน
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ
เหล่านี้ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน
เป็นข้าศึกภายใน ธรรม 3 ประการคืออะไร คือ
1. โลภะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน
2. โทสะ ฯลฯ
3. โมหะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน ธรรม 3 ประการเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็น
มลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็น
ข้าศึกภายใน
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
โลภะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
โลภะทำให้จิตกำเริบ โลภะเป็นภัยที่เกิดภายใน
คน(ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น
คนโลภไม่รู้จักผล คนโลภไม่รู้จักเหตุ
ความโลภครอบงำนรชนเมื่อใด
ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น

เชิงอรรถ :
1 สํ.สฬา. (แปล) 18/151/184-185

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :427 }