เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
จากลม ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่
เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ
พากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก
สัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ
อันตรายที่ไม่ปรากฏ คืออะไร
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์
ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ
อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง
ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ
คำว่า อันตราย อธิบายว่า ชื่อว่าอันตราย เพราะมีความหมายอย่างไร
ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม ชื่อว่า
อันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างไร
คือ อันตรายเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง
ย่ำยีบุคคลนั้น ที่ชื่อว่าอันตรายเพราะครอบงำ เป็นอย่างนี้
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร
คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสูญ เพื่อความเสื่อมไปแห่ง
กุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมอะไรบ้าง อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสูญ
เพื่อความเสื่อมไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม
การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์
การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวม
อินทรีย์ทั้ง 6 (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :425 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
อาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ ความ
หมั่นเจริญสติปัฏฐาน 4 ความหมั่นเจริญสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ อิทธิบาท 4 ฯลฯ
อินทรีย์ 5 ฯลฯ พละ 5 ฯลฯ โพชฌงค์ 7 ความหมั่นเจริญอริยมรรคมีองค์ 8
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างนี้
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลกรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย
เปรียบเหมือนสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู สัตว์ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ สัตว์ที่อาศัย
ป่าย่อมอยู่ในป่า สัตว์ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่บนต้นไม้ ฉันใด บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมเกิดในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ชื่อว่าอันตราย
เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก1 ผู้
มีอาจารย์2 ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก ผู้มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่
ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอันเตวาสิก
บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า
“ผู้มีอาจารย์”
อีกนัยหนึ่ง บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะได้ยินเสียงทางหู ฯลฯ เพราะได้กลิ่นทางจมูก ฯลฯ
เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ เพราะได้รับสัมผัสทางกาย ฯลฯ เพราะรู้ธรรมารมณ์
ทางใจ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้มีอันเตวาสิก” บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
1 อันเตวาสิก ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน (สํ.สฬา.อ. 3/151-152/55)
2 อาจารย์ ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่ฟุ้งขึ้น (สํ.สฬา.อ. 3/151-152/55)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :426 }