เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความ
สันโดษด้วยเสนาสนะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เรียกได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์
ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า
อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อง
สลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี
ตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดขยัน ไม่เกียจคร้าน
มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เรียกได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า
รวมความว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้

ว่าด้วยอันตราย 2 อย่าง
คำว่า อันตราย ในคำว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย และไม่หวาดเสียว
ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ (1) อันตรายที่ปรากฏ (2) อันตรายที่ไม่ปรากฏ
อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร
คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู
แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา
โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน
โรคไอ โรคหืด โรคหวัด โรคไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง
จุกเสียด อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน
หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :424 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
จากลม ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่
เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ
พากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก
สัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ
อันตรายที่ไม่ปรากฏ คืออะไร
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์
ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ
อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง
ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ
คำว่า อันตราย อธิบายว่า ชื่อว่าอันตราย เพราะมีความหมายอย่างไร
ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม ชื่อว่า
อันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างไร
คือ อันตรายเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง
ย่ำยีบุคคลนั้น ที่ชื่อว่าอันตรายเพราะครอบงำ เป็นอย่างนี้
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร
คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสูญ เพื่อความเสื่อมไปแห่ง
กุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมอะไรบ้าง อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสูญ
เพื่อความเสื่อมไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม
การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์
การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวม
อินทรีย์ทั้ง 6 (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :425 }