เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ว่าด้วยยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
คำว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้1 อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี
ตามได้2 ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็
ไม่กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ
มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตาม
ได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด ขยัน ไม่เกียจคร้าน
มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษด้วยจีวรนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้เรียก
ได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า
อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้
และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการ
แสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย
และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อง
สลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ท่าน
จึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว
มีสติกำกับในความสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เรียกได้ว่า
ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า
อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการ
แสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย
และได้เสนาสนะแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อง
สลัดออก ใช้สอยอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ท่าน
จึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น

เชิงอรรถ :
1 ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ หมายถึงยินดีจีวรชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาจีวรเนื้อหยาบ เนื้อละเอียด
เศร้าหมอง ประณีต คงทน และเก่าเป็นต้น (ขุ.จู.อ. 128/117)
2 ความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ หมายถึงยินดีจีวรตามที่ได้ (ยถาลาภสันโดษ) ยินดีตามกำลัง (ยถาพล
สันโดษ) ยินดีจีวรตามสมควร (ยถาสารุปปสันโดษ) แม้บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ก็เหมือนกัน (ขุ.จู.อ. 128/117)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :423 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความ
สันโดษด้วยเสนาสนะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เรียกได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์
ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า
อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิด ที่ไม่สมควรเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อง
สลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี
ตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดขยัน ไม่เกียจคร้าน
มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เรียกได้ว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า
รวมความว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้

ว่าด้วยอันตราย 2 อย่าง
คำว่า อันตราย ในคำว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย และไม่หวาดเสียว
ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ (1) อันตรายที่ปรากฏ (2) อันตรายที่ไม่ปรากฏ
อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร
คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู
แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา
โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน
โรคไอ โรคหืด โรคหวัด โรคไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง
จุกเสียด อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน
หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :424 }