เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการเล่น 2 อย่าง
คำว่า การเล่น ในคำว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี
ได้แก่ การเล่น 2 อย่าง คือ
1. การเล่นทางกาย
2. การเล่นทางวาจา
การเล่นทางกาย เป็นอย่างไร
คือ คนย่อมเล่นกีฬาบังคับช้าง เล่นกีฬาบังคับม้า เล่นรถ เล่นธนู เล่น
หมากรุกแถวละ 8 ตา หรือเล่นหมากแถวละ 10 ตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด
เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ เล่นสะกา เล่นเป่า
ใบไม้ เล่นไถเล็ก ๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถเล็ก ๆ เล่น
ธนูเล็ก ๆ เล่นเขียนทาย เล่นทายใจ เล่นล้อเลียนคนพิการ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย
การเล่นทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ การทำเสียงกลองด้วยปาก ทำเสียงพิณพาทย์ด้วยปาก เล่นรัวกลองด้วย
ปาก ผิวปาก กะเดาะปาก เป่าปาก ซ้อมเพลง โห่ร้อง ขับร้อง เล่นตลก นี้ชื่อว่าการ
เล่นทางวาจา
คำว่า ความยินดี อธิบายว่า คำว่า ความยินดี เป็นชื่อเรียกความไม่
เบื่อหน่าย
คำว่า ในท่ามกลางสหาย อธิบายว่า การมาสบาย การไปสบาย การไป
การมาสบาย การยืนสบาย การนั่งสบาย การนอนสบาย การทักทายสบาย
การสนทนาสบาย การเจรจาสบาย การสนทนาปราศรัยสบายกับชนเหล่าใด ชน
เหล่านั้น เรียกว่า สหาย
คำว่า ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี อธิบายว่า การเล่น
และความยินดี ก็มีอยู่ในท่ามกลางสหาย รวมความว่า ในท่ามกลางสหายย่อมมี
การเล่น มีความยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :420 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์ อธิบายว่า
คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร 4 จำพวก คือ
1. บุตรเกิดจากตน 2. บุตรเกิดในเขต
3. บุตรที่เขาให้ 4. บุตรที่อยู่ในสำนัก
คำว่า และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์ อธิบายว่า ความรักที่น้อม
ไปในบุตรก็มีอยู่ รวมความว่า และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์

ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก 2 จำพวก
คำว่า บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก อธิบายว่า สิ่งเป็น
ที่รัก 2 จำพวก คือ (1) สัตว์ที่เป็นที่รัก (2) สังขารที่เป็นที่รัก
สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ
หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา
มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิต สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าชอบใจ สังขาร
เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก อธิบายว่า บุคคล
เมื่อรังเกียจ คือ อึดอัด เบื่อหน่ายความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก รวมความว่า
บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน
นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี
และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์
บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :421 }