เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 4. ปารายนานุคีติคาถา
[173] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า)
พระผู้มีพระภาคทรงรู้ชัดอธิเทพ
ทรงรู้ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง
เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย
เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ (18)
[174] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า)
สภาวะใดไม่มีอะไร ๆ ที่ไหนเปรียบได้
สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ
ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้
ความสงสัยในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์
ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล (19)
ปารายนานุคีติคาถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :42 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
5. มาณวปัญหานิทเทส1
ว่าด้วยปัญหาของมาณพ 16 คน
1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ
[1] (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้)
โลกถูกอะไรเล่าหุ้มห่อไว้
เพราะเหตุไรเล่า โลกจึงไม่สดใส
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกว่า
อะไรเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้
อะไรเล่า เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น (1)
คำว่า โลก ในคำว่า โลกถูกอะไรเล่าหุ้มห่อไว้ ได้แก่ โลกนรก โลกกำเนิด
เดรัจฉาน โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก1 ขันธโลก ธาตุโลก2 อายตนโลก3
โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก เทวโลก นี้ ตรัสเรียกว่า โลก โลกนี้ ถูกอะไรโอบล้อม
หุ้มห่อ คือ ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ รวมความว่า โลกถูกอะไร
เล่าหุ้มห่อไว้

เชิงอรรถ :
1 เทวโลก คือโลกของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง 6 เป็นภพที่มีอารมณ์เลิศ โลกที่มีแต่ความสุข
แต่ยังเกี่ยวข้องกับกามอยู่ ได้แก่ (1) จาตุมหาราชิกา สวรรค์ที่ท้าวมหาราชทั้ง 4 ปกครองอยู่ (ท้าวธตรฐ
จอมคนธรรพ์ครองทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกจอมกุมภัณฑ์ครองทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์จอมนาคครองทิศ
ตะวันตก ท้าวกุเวรหรือเวสวัณจอมยักษ์ครองทิศเหนือ) (2) ดาวดึงส์ แดนที่อยู่แห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะ
เป็นจอมเทพ (3) ยามา แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์ มีท้าวสุยามาเป็นจอมเทพ (4) ดุสิต
แดนที่อยู่แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ (5) นิมมานรดี แดนแห่ง
เทพผู้มีความยินดีในการเนรมิต มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ (6) ปรนิมมิตวสวัตดี แดนที่อยู่แห่งเทพผู้
ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิต คือ เสวยสมบัติที่พวกเทพอื่นนิรมิตให้ มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพ
(สํ.ม. 19/1081/369)
2 ธาตุโลก หมายถึงธาตุ 18 คือสิ่งที่ทรงสภาวะของตนเองอยู่ ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเป็นไป
ตามธรรมนิยาม คือ กำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้าง ผู้บันดาล และมีรูปลักษณะ กิจ อาการเป็นแบบ
จำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่าง ๆ ได้แก่ (1) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท (2) รูปธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :43 }