เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า ความเสรี ได้แก่ ความเสรี 2 อย่าง คือ
1. ธรรมเสรี
2. บุคคลเสรี
ธรรมเสรี เป็นอย่างไร
คือ สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เรียกว่า ธรรมเสรี1
บุคคลเสรี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเสรีนี้ เรียกว่า บุคคลเสรี
คำว่า บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชอันให้ถึงความเสรีที่พวกคนพาลไม่มุ่งหวัง
อธิบายว่า บุคคลเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาธรรมอันให้ถึง
ความเสรีอยู่ รวมความว่า บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชอันให้ถึงความเสรี ที่พวก
คนพาลไม่มุ่งหวัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการปรึกษากันในเรื่องที่อยู่
เรื่องการดำรงตน เรื่องการไป เรื่องการเที่ยวจาริก
บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชอันให้ถึงความเสรี
ที่พวกคนพาลไม่มุ่งหวัง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[127] (พระปัจจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี
และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์
บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (7)

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 125/414

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :419 }