เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
โผฏฐัพพะที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา รวม
ความว่า กอไผ่กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด
คำว่า บุตร ในคำว่า ความห่วงใยในบุตรและทาระก็กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวไว้
ฉันนั้น ได้แก่ บุตร 4 จำพวก คือ
1. บุตรเกิดจากตน 2. บุตรเกิดในเขต
3. บุตรที่เขาให้ 4. บุตรที่อยู่ในสำนัก
ภริยา เรียกว่า ทาระ
ตัณหาเรียกว่า ความห่วงใย ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า ความห่วงใยในบุตรและทาระก็กว้างใหญ่
เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น
คำว่า บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไผ่ อธิบายว่า พุ่มต้นไผ่เรียกว่า
กอไผ่ เหมือนหน่ออ่อนในกอไผ่ ไม่ข้อง ไม่เกาะติด ไม่ถูกผูกมัด ไม่พัวพัน โผล่ออก
สลัดออก ผุดพ้นขึ้นได้
คำว่า เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง 2 อย่าง คือ (1) ความเกี่ยวข้องด้วย
อำนาจตัณหา (2) ความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความข้องด้วยอำนาจ
ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ
เกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจตัณหา
สลัดทิ้งความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่
เกี่ยวข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ...
ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ
... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ... จตุโวการภพ ...
ปัญจโวการภพ ... อดีต อนาคต ปัจจุบัน ... ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ ไม่ยึด ไม่ติด ไม่พัวพัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :414 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ไม่สยบ คือ ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากความ
เกี่ยวข้อง) อยู่ รวมความว่า บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่
ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด
ความห่วงใยในบุตรและทาระ ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น
บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[125] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้
ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด
วิญญูชนเมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น (5)
คำว่า เนื้อ ในคำว่า เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้
ตามความพอใจ ฉันใด ได้แก่ เนื้อ 2 ชนิด คือ (1) เนื้อทราย (2) เนื้อสมัน
เนื้ออยู่ในป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน
ฉันใด
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเนื้อป่า
เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร เพราะไม่ได้พบกับนายพรานเนื้อ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวกอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น
เพราะทำลายจักษุ(ปัญญาจักษุ)ของมารอย่างไม่มีร่องรอย
อีกนัยหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจาก
สมาธิอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือเป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น
เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :415 }