เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คันถะ1 อุปาทาน2 อาวรณ์3 นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย4
ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์
เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร
ที่อาศัยแห่งมาร โคจรแห่งมาร เครื่องผูกแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจข่าย
ตัณหาดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะขยายไป
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ
อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้น แผ่ไป ซ่านไป ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ
ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส

เชิงอรรถ :
1 คันถะ ดูรายละเอียดข้อ 2/50
2 อุปาทาน ดูรายละเอียดข้อ 2/51
3 อาวรณ์ ดูรายละเอียดข้อ 2/51
4 อนุสัย ดูรายละเอียดข้อ 2/51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :413 }