เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ว่าด้วยภัย
คำว่า ภัย ในคำว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย
พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย อัตตานุวาทภัย(ภัยเกิดจาก
การติเตียนตน) ปรานุวาทภัย(ภัยเกิดจากการติเตียนของผู้อื่น) ทัณฑภัย(ภัยจาก
อาชญา) ทุคติภัย(ภัยในทุคติ) อูมิภัย(ภัยจากคลื่น) กุมภีลภัย(ภัยจากจระเข้)
อาวัฏฏภัย(ภัยจากน้ำวน) สุงสุมารภัย(ภัยจากปลาร้าย) อาชีวิกภัย(ภัยจากการ
หาเลี้ยงชีพ) อสิโลกภัย(ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง) ปริสสารัชชภัย(ภัยจากความ
ครั่นคร้ามในชุมชน) มทนภัย(ภัยจากความมัวเมา) เหตุที่น่ากลัว ความหวาดเสียว
ขนพองสยองเกล้า ใจหวาดเสียว ความสะดุ้ง
คำว่า ความเชยชิด ได้แก่ ความเชยชิด 2 อย่าง คือ (1) ความเชยชิดด้วย
อำนาจตัณหา (2) ความเชยชิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเชยชิดด้วย
อำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเชยชิดด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด อธิบายว่า เมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น
มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาภัยในความเชยชิดนี้ รวมความว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นใน
ความเชยชิด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี
มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้
บุคคลเมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[124] (พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า)
กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด
ความห่วงใยในบุตรและทาระ ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น
บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (4)

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 11/80-81, และข้อ 122/402-403

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :411 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ว่าด้วยตัณหา
คำว่า กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด อธิบายว่า พุ่มต้นไผ่ เรียกว่า
กอไผ่ ในพุ่มต้นไผ่ ย่อมมีหนามจากกอเก่า ยุ่ง คือ รก เกี่ยว ข้อง เกาะติด
เกี่ยวพัน พัวพันกัน ฉันใด ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ฉันนั้นเหมือนกัน คือ
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความข้องอยู่
ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยัง
สัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย
ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป
ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน ความคะนึงหา ตัณหาที่นำพาไปสู่ภพ
ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน
ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวัง
ในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังใน
ทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบ
บ่อย ๆ ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความ
ละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่
อารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยา
ที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ1 รูปตัณหา
สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ2 โยคะ3

เชิงอรรถ :
1 ตัณหานิโรธ ดูรายละเอียดข้อ 2/50
2 โอฆะ ดูรายละเอียดข้อ 2/50
3 โยคะ ดูรายละเอียดข้อ 2/50

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :412 }