เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
[122] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง
ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก
เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (2)
คำว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง อธิบายว่า
คำว่า ความเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง 2 อย่าง คือ
1. ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น
2. ความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน
ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ เห็นสตรีหรือกุมารี ผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม เพียบพร้อม
ด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง ครั้นพบเห็นแล้ว ย่อมแยกถือว่า ผมงาม
หน้างาม นัยน์ตางาม หูงาม จมูกงาม ริมฝีปากงาม ฟันงาม ปากงาม คองาม
นมงาม อกงาม ท้องงาม เอวงาม ขาอ่อนงาม แข้งงาม มืองาม เท้างาม นิ้วงาม
เล็บงาม คือ ครั้นพบเห็นแล้ว ก็พอใจ พร่ำเพ้อถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพัน
ด้วยความกำหนัด นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น
ความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ได้ยินว่า “ในหมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น มีสตรี หรือ
กุมารี รูปงาม น่าดู น่าชม เพียบพร้อมด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง” ครั้น
ได้ยิน ได้ฟังแล้ว ก็พอใจ พร่ำเพ้อถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพันด้วยความกำหนัด
นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน
คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก 2 อย่าง คือ (1) ความรักด้วยอำนาจตัณหา
(2) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ
ความรักด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร
คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือ
ว่าเป็นของเราด้วยสัดส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :402 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านี้ว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีปริมาณเท่านี้
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ
ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท
กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา
ซึ่งจำแนกได้ 108 นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ
ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น
ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง ความ
ถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่าเป็นจริง
เห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ 62 นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง อธิบายว่า เพราะความ
เกี่ยวข้อง เพราะการเห็นเป็นปัจจัย และเพราะความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยินเป็น
ปัจจัย ความรักด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิย่อมมี คือ มีขึ้น
เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏ รวมความว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มี
ความเกี่ยวข้อง
คำว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก อธิบายว่า
คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก 2 อย่าง คือ (1) ความรักด้วยอำนาจตัณหา
(2) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไป อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต
ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง


เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 11/80-81

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :403 }