เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ประพฤติในอายตนะมีแก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความ
ไม่ประมาท ความประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณ
มีแก่ผู้บรรลุปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความ
ประพฤติในผลมีแก่ผู้ได้บรรลุผล และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบาง
ส่วนเหล่านี้ คือ ความประพฤติ 8 อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ 8 อย่าง คือ
1. เมื่อน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
2. เมื่อประคองใจ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ
3. เมื่อตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ
4. เมื่อทำความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
5. เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา
6. เมื่อรู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ
7. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่าง
นี้” ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
8. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่าย่อม
ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ 8 อย่าง คือ
1. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา(ความประพฤติด้วยความเห็น)
2. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา(ความประพฤติด้วย
การปลูกฝังความดำริ)
3. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา(ความประพฤติการกำหนด
สำรวมวจี 4 อย่าง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :400 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
4. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา(ความประพฤติด้วย
ความหมั่น)
5. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา(ความประพฤติด้วยความ
ผ่องแผ้ว)
6. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา(ความประพฤติด้วยการ
ประคองความเพียร)
7. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา(ความประพฤติด้วยการ
เข้าไปตั้งสติ)
8. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา(ความประพฤติด้วยความ
ไม่ฟุ้งซ่าน)
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ 8 อย่าง
คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด ย่อมมีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง
ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็เหมือนนอแรดนั้น คือ เช่นเดียวกับนอแรดนั้น
เปรียบได้กับนอแรดนั้น
รสเค็มจัด คนพูดกันว่าเหมือนเกลือ รสขมจัด พูดกันว่าเหมือนดี รสหวานจัด
พูดกันว่าเหมือนน้ำผึ้ง ร้อนจัด พูดกันว่าเหมือนไฟ เย็นจัด พูดกันว่าเหมือนน้ำแข็ง
ปริมาณน้ำมีมาก พูดกันว่าเหมือนทะเล พระสาวกผู้บรรลุอภิญญาและพละอันยิ่ง
ใหญ่ พูดกันว่า เหมือนพระศาสดา ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ฉันนั้น เหมือน
นอแรดนั้น เป็นเช่นเดียวกับนอแรดนั้น เปรียบได้กับนอแรดนั้น ในข้อนั้น เป็นผู้เดียว
คือ ไม่มีเพื่อน พ้นจากเครื่องผูกพัน ย่อมประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปโดยชอบ ในโลก รวมความว่า จึงประพฤติ
อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก
ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น
ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :401 }