เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี”
ตรัสรู้ว่า “เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ”

ตรัสรู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้
อาสวะ นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้คือธรรมที่
ควรรู้ยิ่ง เหล่านี้คือธรรมที่ควรละ เหล่านี้คือธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง เหล่านี้คือ
ธรรมที่ควรเจริญ ตรัสรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้ง ผัสสายตนะ 6
ตรัสรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้งอุปาทานขันธ์ 5 ตรัสรู้เหตุเกิด
เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้งมหาภูตรูป 4”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :398 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ตรัสรู้ว่า“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ
ดับไปเป็นธรรมดา”
อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติอย่างใดก็ตามที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้ตามลำดับ ควร
ตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้ด้วยดี ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตรัสรู้ตามลำดับ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้ด้วยดี ตรัสรู้โดยชอบ
บรรลุถูกต้อง ทำให้แจ้งธรรมชาตินั้นทั้งหมดด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น พระ
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรปัจเจกสัมโพธิญาณลำพังผู้เดียว จึงชื่อว่าผู้เดียว
เป็นอย่างนี้

ว่าด้วยความประพฤติ 8 อย่าง
คำว่า พึงประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ 8 อย่าง ได้แก่

1. ความประพฤติในอิริยาบถ 2. ความประพฤติในอายตนะ
3. ความประพฤติในสติ 4. ความประพฤติในสมาธิ
5. ความประพฤติในญาณ 6. ความประพฤติในมรรค
7. ความประพฤติในผล 8. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก

คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ 4
คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายในและ
อายตนะภายนอกอย่างละ 6
คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน 4
คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน 4
คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ 4
คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค 4
คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล 4
คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติในพระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน ความ
ประพฤติในพระสาวกบางส่วน ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :399 }