เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ท่านไปผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว
เดินหน้าผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติ อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ฉะนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าไม่มีเพื่อน
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าละตัณหาได้ เป็นอย่างไร
คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว (อุทิศกายและใจ)อยู่ ตั้งความเพียรมาก กำจัดมาร
พร้อมทั้งเสนาผู้ชั่วร้ายซึ่งกีดกันมหาชนไม่ให้หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งตัณหาที่เป็นดุจตาข่าย ซ่านไป
เกาะเกี่ยวในอารมณ์
บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น
ภิกษุรู้โทษนี้แล้ว รู้ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์
พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น มีสติสัมปชัญญะอยู่1
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าละตัณหาได้ เป็นอย่างนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างไร
คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละราคะ
ได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโทสะได้แล้ว จึงชื่อ
ว่าผู้เดียว
ปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโมหะได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว
ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละเหล่ากิเลสได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว
เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 องฺ.จตุกฺก.(แปล) 21/9/15,257/374, ขุ.อิติ. 25/105/324, ขุ.ม.(แปล) 29/191/547-550

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :396 }