เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส1
ปฐมวรรค
ว่าด้วยการประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[121] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก
ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น
ไม่ต้องการบุตร(แล้ว)จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (1)
คำว่า ทุกจำพวก ในคำว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก อธิบายว่า ทุกสิ่ง
โดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง คำว่า
ทุกจำพวก นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า ในสัตว์ ได้แก่ สัตว์ที่มักสะดุ้งและสัตว์ที่มั่นคง เรียกว่าสัตว์
คำว่า ผู้สะดุ้ง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ยังละตัณหาอันทำให้สะดุ้งไม่ได้ ยังละภัย
และความหวาดกลัวไม่ได้ เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่าผู้สะดุ้ง
สัตว์เหล่านั้นยังสะดุ้ง คือ ครั่นคร้าม เกรงกลัว หวาดกลัว ถึงความสะดุ้ง เพราะ
เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า ผู้สะดุ้ง
คำว่า ผู้มั่นคง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่ละตัณหาอันทำให้สะดุ้งได้แล้ว ละภัย
และความหวาดกลัวได้แล้ว เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่าผู้มั่นคง
สัตว์เหล่านั้นไม่สะดุ้ง ไม่ครั่นคร้าม ไม่เกรงกลัว ไม่หวาดกลัว ไม่ถึงความสะดุ้ง
เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า ผู้มั่นคง

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/35-75/342-349

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :393 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า โทษ ได้แก่ โทษ 3 อย่าง คือ
1. โทษทางกาย 2. โทษทางวาจา
3. โทษทางใจ
กายทุจริต 3 อย่าง ชื่อว่าโทษทางกาย
วจีทุจริต 4 อย่าง ชื่อว่าโทษทางวาจา
มโนทุจริต 3 อย่าง ชื่อว่าโทษทางใจ
คำว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก อธิบายว่า ยก คือ ทิ้ง ปลง ปลด
ทอดทิ้ง ระงับโทษในสัตว์ทุกจำพวก รวมความว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก
คำว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น อธิบายว่า
ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้แต่ผู้เดียว ด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา โซ่ตรวน หรือ
เชือก ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ทุกจำพวก ด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา โซ่ตรวน
หรือเชือก รวมความว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น
คำว่า ไม่ ในคำว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า
เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร 4 จำพวก คือ
1. บุตรเกิดจากตน 2. บุตรเกิดในเขต
3. บุตรที่เขาให้ 4. บุตรที่อยู่ในสำนัก
คำว่า สหาย อธิบายว่า การมาสบาย การไปสบาย การไปการมาสบาย การ
ยืนสบาย การนั่งสบาย การนอนสบาย การทักทายสบาย การสนทนาสบาย การ
เจรจาสบาย การสนทาปราศรัยสบายกับชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น เรียกว่า สหาย
คำว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า อธิบายว่า
ไม่ต้องการ คือ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังบุตรเลย พึงต้องการ
คือ พึงยินดี พึงปรารถนา พึงมุ่งหมาย พึงมุ่งหวังมิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบหรือ
สหายจากไหนเล่า รวมความว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจาก
ไหนเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :394 }