เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
สามัญญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ (ภาษา)
เมื่อรู้เหตุ เหตุย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้ผล ผลย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติย่อม
แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติทั้ง 3 เหล่านี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า
ชื่อว่าทรงมีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจัก
แจ่มแจ้งแก่เขาได้ รวมความว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ ด้วยเหตุนั้น
พระปิงคิยเถระจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์นี้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว
เลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว
ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ
[119] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า)
พระผู้มีพระภาคทรงรู้ชัดอธิเทพ
ทรงรู้ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง
เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย
เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ (18)

ว่าด้วยเทพ 3
คำว่า ทรงรู้ชัดอธิเทพ อธิบายว่า
คำว่า เทพ ได้แก่ เทพ 3 จำพวก คือ
1. สมมติเทพ 2. อุบัติเทพ
3. วิสุทธิเทพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :387 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
สมมุติเทพ เป็นอย่างไร
คือ พระราชา พระราชกุมาร และพระราชเทวี เหล่านี้เรียกว่า สมมุติเทพ
อุบัติเทพ เป็นอย่างไร
คือ เทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่
พรหม และเทวดาชั้นสูงกว่านั้น เหล่านี้เรียกว่า อุบัติเทพ
วิสุทธิเทพ เป็นอย่างไร
คือ พระตถาคต สาวกของพระตถาคต พระอรหันตขีณาสพ และพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้า เหล่านี้เรียกว่า วิสุทธิเทพ
พระผู้มีพระภาคทรงรู้ชัดเหล่าสมมุติเทพว่า เป็นอธิเทพ ทรงรู้จักเหล่าอุบัติเทพ
ว่าเป็นอธิเทพ ทรงรู้ชัด คือ ทรงทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งเหล่าวิสุทธิเทพว่า เป็นอธิเทพ รวมความว่า ทรงรู้ชัดอธิเทพ
คำว่า ทรงรู้ชัดธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ คือ ทรงทราบ ทรงถูกต้อง แทงตลอดธรรมที่ทำพระองค์
และชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ
ธรรมที่ทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การ
ปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้
บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ
อริยมรรคมีองค์ 8 เหล่านี้ เรียกว่า ธรรมที่ทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพ
ธรรมที่ทำชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติชอบ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8 เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำชน
เหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ คือ ทรงทราบ ทรงถูกต้อง แทงตลอด
ธรรมที่ทำพระองค์และชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ทรงรู้ชัด
ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :388 }