เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ในคำว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมี
ปฏิภาณ อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต โทสะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปู
ตรึงจิต โมหะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต โกธะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต อุปนาหะ
ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากิเลสดุจตะปู
ตรึงจิต กิเลสดุจตะปูตรึงจิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต

ว่าด้วยบุคคลผู้มีปฏิภาณ 3 จำพวก
คำว่า ทรงมีปฏิภาณ อธิบายว่า บุคคลผู้มีปฏิภาณมี 3 จำพวก คือ
1. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ
2. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา
3. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
ญาณ(ความรู้)ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่า
ผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในเรื่องความหมาย ในเรื่องที่ควรรู้
ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ(ความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้) ญาณของ
เขาย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการไต่สวน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :386 }