เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า แม้เธอก็จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน อธิบายว่า เธอก็จงเผย
เปิดเผย คือ แสดงออก น้อมใจ กำหนดศรัทธา เผย เปิดเผย แสดงออก น้อมใจ
กำหนดศรัทธาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า แม้เธอก็
จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน
คำว่า ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช อธิบายว่า
กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า บ่วงมัจจุราช
อมตนิพพาน ธรรมเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า
ฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช
คำว่า ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น (ฝั่งตรงข้าม) แห่งบ่วงมัจจุราช อธิบายว่า
เธอจักถึงฝั่ง คือ จักบรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่ง รวมความว่า ปิงคิยะ เธอจัก
ถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม
เป็นผู้มีศรัทธาน้อมไปแล้ว ฉันใด
แม้เธอก็จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน
ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช
[118] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า)
ข้าพระองค์นี้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว
เลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว
ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ (17)
คำว่า ข้าพระองค์นี้ ... เลื่อมใสอย่างยิ่ง อธิบายว่า ข้าพระองค์นี้เลื่อมใส
อย่างยิ่ง คือ เชื่อถือยิ่ง ๆ ขึ้นไป กำหนดได้โดยยิ่งขึ้นไป น้อมใจเชื่อโดยยิ่ง ๆ ขึ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :384 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
เลื่อมใสอย่างยิ่ง เชื่อถืออย่างยิ่ง ๆ ขึ้นไป กำหนดได้โดยยิ่งขึ้นไป น้อมใจเชื่อโดยยิ่ง ๆ
ขึ้นไปว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี
ความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า ข้าพระองค์นี้ ... เลื่อมใสอย่างยิ่ง
คำว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว อธิบายว่า
คำว่า พระมุนี ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
พระองค์ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่าพระมุนี
คำว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว อธิบายว่า ได้ฟัง คือ ได้สดับ ได้เรียน
ได้ทรงจำ ได้เข้าไปกำหนดพระดำรัส คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน
คำพร่ำสอนของพระองค์ รวมความว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว
คำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว อธิบายว่า
คำว่า เครื่องปิดบัง ได้แก่ เครื่องปิดบัง 5 อย่าง คือ
1. เครื่องปิดบังคือตัณหา
2. เครื่องปิดบังคือทิฏฐิ
3. เครื่องปิดบังคือกิเลส
4. เครื่องปิดบังคือทุจริต
5. เครื่องปิดบังคืออวิชชา
เครื่องปิดบังเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงเปิดแล้ว คือ ทรงรื้อออก
เพิกถอน ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น
ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงมีเครื่องปิดบัง
อันเปิดแล้ว
คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ คำว่า
พระพุทธเจ้านี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง ทรงมีเครื่อง
ปิดบังอันเปิดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :385 }