เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ
โดยการไปด้วยความดำริ ท่านพราหมณ์
เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น (14)
คำว่า ชราแล้ว ในคำว่า อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
ได้แก่ ชราแล้ว คือ เป็นผู้เฒ่า สูงอายุ ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก รวมความว่า
ชราแล้ว
คำว่า มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย ได้แก่ เป็นผู้เฒ่า คือ มีเรี่ยวแรงน้อยลง
มีเรี่ยวแรงนิดเดียว รวมความว่า อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
คำว่า ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ อธิบายว่า
ร่างกายไปไม่ได้ คือ มิได้ถึง มิได้เดินทางไป มิได้ก้าวไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่
รวมความว่า ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้
คำว่า แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ
อธิบายว่า อาตมภาพไปเฝ้า คือ ถึง เดินทางไป ก้าวไปโดยการไปด้วยความดำริ
คือ โดยการไปด้วยความตรึก ด้วยญาณ ด้วยปัญญา ด้วยความรู้ รวมความว่า
แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ
คำว่า ใจ ในคำว่า ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่
กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ
มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดจาก
วิญญาณขันธ์นั้น
คำว่า ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่
พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น อธิบายว่า ใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยว คือ เกี่ยวเนื่อง
ผูกพันกับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่แล้ว รวมความว่า ท่านพราหมณ์ เพราะ
ว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น ด้วยเหตุนั้น
พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :379 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
เพราะเหตุนั้นแล ร่างกายจึงไปในสถานที่
ที่พุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้
แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ
โดยการไปด้วยความดำริ ท่านพราหมณ์
เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น
[116] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
อาตมภาพนอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม
ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง
ครั้นต่อมา อาตมภาพได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ (15)
คำว่า นอน ... ในเปือกตม ในคำว่า นอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม อธิบายว่า
นอน คือ นอนลง อยู่ อยู่อาศัย อยู่ประจำในเปือกตมคือกาม คือ โคลนตมคือกาม
กิเลสคือกาม เบ็ดคือกาม ความเร่าร้อนคือกาม ความกังวลคือกาม รวมความว่า
นอน ... ในเปือกตม
คำว่า ดิ้นรนอยู่ อธิบายว่า ดิ้นรน ดิ้นรนอยู่ สั่นเทา กระสับกระส่าย
ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา เพราะทิฏฐิ เพราะกิเลส เพราะการประกอบ เพราะ
วิบาก เพราะมโนทุจริต คือ
ผู้กำหนัดก็ดิ้นรนตามอำนาจราคะ
ผู้ขัดเคืองก็ดิ้นรนตามอำนาจโทสะ
ผู้หลงก็ดิ้นรนตามอำนาจโมหะ
ผู้ยึดติดก็ดิ้นรนตามอำนาจมานะ
ผู้ยึดถือก็ดิ้นรนตามอำนาจทิฏฐิ
ผู้ฟุ้งซ่านก็ดิ้นรนตามอำนาจอุทธัจจะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :380 }