เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ของพระโคดม คือ จากศาสนาของพระพุทธเจ้า จากศาสนาของพระชินเจ้า จาก
ศาสนาของพระตถาคต จากศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า ธรรมเหล่านี้ ...
ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม
คำว่า สู่ทิศใด ๆ ในคำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใด ๆ
อธิบายว่า เสด็จไป ดำเนินไป มุ่งไป มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้
หรือทิศเหนือก็ตาม
คำว่า ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ คือ มีพระ
ปัญญามาก มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาอาจหาญ
มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลส
แผ่นดิน เรียกว่า ภูริ
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญานั้นกว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วย
แผ่นดินนั้น รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใด ๆ
คำว่า อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น ๆ นั่นแล อธิบายว่า พระพุทธ-
เจ้าประทับอยู่ ณ ทิศใด อาตมภาพก็น้อมไปทางทิศนั้น เอนไป โอนไป โน้มไป
น้อมใจไปในทิศนั้น มีทิศนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทาง
ทิศนั้น ๆ นั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธา ปีติ มนะ และสติ
ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า
พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใด ๆ
อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น ๆ นั่นแล
[115] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
เพราะเหตุนั้นแล ร่างกายจึงไปในสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :378 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ
โดยการไปด้วยความดำริ ท่านพราหมณ์
เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น (14)
คำว่า ชราแล้ว ในคำว่า อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
ได้แก่ ชราแล้ว คือ เป็นผู้เฒ่า สูงอายุ ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก รวมความว่า
ชราแล้ว
คำว่า มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย ได้แก่ เป็นผู้เฒ่า คือ มีเรี่ยวแรงน้อยลง
มีเรี่ยวแรงนิดเดียว รวมความว่า อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
คำว่า ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ อธิบายว่า
ร่างกายไปไม่ได้ คือ มิได้ถึง มิได้เดินทางไป มิได้ก้าวไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่
รวมความว่า ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้
คำว่า แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ
อธิบายว่า อาตมภาพไปเฝ้า คือ ถึง เดินทางไป ก้าวไปโดยการไปด้วยความดำริ
คือ โดยการไปด้วยความตรึก ด้วยญาณ ด้วยปัญญา ด้วยความรู้ รวมความว่า
แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ
คำว่า ใจ ในคำว่า ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่
กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ
มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดจาก
วิญญาณขันธ์นั้น
คำว่า ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่
พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น อธิบายว่า ใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยว คือ เกี่ยวเนื่อง
ผูกพันกับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่แล้ว รวมความว่า ท่านพราหมณ์ เพราะ
ว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น ด้วยเหตุนั้น
พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :379 }