เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ท่านพราหมณ์ อาตมภาพไม่ประมาท
ทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยตา
อาตมภาพนอบน้อมพระองค์อยู่ตลอดราตรี
อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[114] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธา ปีติ มนะ และสติ
ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า
พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใด ๆ
อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น ๆ นั่นแล (13)
คำว่า สัทธา ในคำว่า สัทธา ปีติ มนะ และสติ อธิบายว่า สัทธา
ความเชื่อ ความกำหนด ความเลื่อมใส สัทธา คือ สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ปรารภ
พระผู้มีพระภาค
คำว่า ปีติ ได้แก่ ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความชื่นใจ ความบันเทิง
ความเบิกบาน ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความมีใจสูง
ความมีใจแช่มชื่น ความที่ใจเลื่อมใสยิ่ง
คำว่า มนะ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ1 อันเกิดจากวิญญาณขันธ์นั้นปรารภ
พระผู้มีพระภาค
คำว่า สติ ได้แก่ สติ ความระลึกถึง สัมมาสติปรารภพระผู้มีพระภาค รวม
ความว่า สัทธา ปีติ มนะ และสติ
คำว่า ธรรมเหล่านี้ ... ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม อธิบายว่า
ธรรม 4 อย่างเหล่านี้ ย่อมไม่หายไป คือ ไม่ไป ไม่ละไป ไม่สูญหายไป จากศาสนา

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/68

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :377 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ของพระโคดม คือ จากศาสนาของพระพุทธเจ้า จากศาสนาของพระชินเจ้า จาก
ศาสนาของพระตถาคต จากศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า ธรรมเหล่านี้ ...
ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม
คำว่า สู่ทิศใด ๆ ในคำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใด ๆ
อธิบายว่า เสด็จไป ดำเนินไป มุ่งไป มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้
หรือทิศเหนือก็ตาม
คำว่า ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ คือ มีพระ
ปัญญามาก มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาอาจหาญ
มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลส
แผ่นดิน เรียกว่า ภูริ
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญานั้นกว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วย
แผ่นดินนั้น รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใด ๆ
คำว่า อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น ๆ นั่นแล อธิบายว่า พระพุทธ-
เจ้าประทับอยู่ ณ ทิศใด อาตมภาพก็น้อมไปทางทิศนั้น เอนไป โอนไป โน้มไป
น้อมใจไปในทิศนั้น มีทิศนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทาง
ทิศนั้น ๆ นั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธา ปีติ มนะ และสติ
ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า
พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใด ๆ
อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น ๆ นั่นแล
[115] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
เพราะเหตุนั้นแล ร่างกายจึงไปในสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :378 }