เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
พระโคดมทรงเป็นเอกบุรุษ
ประทับนั่งทำลายความมืดอยู่ ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี
พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ
พระโคดมมีพระปัญญาดุจภูริ
[108] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
ธรรมใดไม่มีอะไร ๆ ที่ไหนเปรียบได้
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม
ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา
เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ (7)
คำว่า พระองค์ใด ในคำว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดง
ธรรม...แก่อาตมภาพ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสยัมภู ไม่มีครูอาจารย์
ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุความเป็น
พระสัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ชำนาญในพละทั้งหลาย
คำว่า ธรรม ในคำว่า ทรงแสดงธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคตรัสบอก
ทรงแสดง คือ บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหม-
จรรย์ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ อริยมรรค
มีองค์ 8 นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า พระผู้มี-
พระภาคพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม ... แก่อาตมภาพ
คำว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง
ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตน
รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ด้วยประการฉะนี้
อีกนัยหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ
ได้รับผลแห่งมรรคนั้น ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น รวมความว่า ที่บุคคล
เห็นได้เอง อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :368 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายลงทุนตามเวลา ยังไม่ได้
รับผลในกาลทุกครั้ง ยังต้องรอเวลาฉันใด ธรรมนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้ใดเจริญ
อริยมรรคมีองค์ 8 ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้นใน
กาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น มิใช่ในภพหน้า มิใช่ในปรโลก จึงชื่อว่าไม่ขึ้นกับ
กาลเวลา อย่างนี้ รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา
คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ได้แก่ เป็นที่สิ้นตัณหา คือ เป็นที่สิ้นราคะ สิ้นโทสะ
สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นอุปบัติ สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร สิ้นวัฏฏะ
คำว่า ไม่มีอันตราย อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร ท่านเรียกว่า
อันตราย อธิบายว่า (ธรรมเป็นเครื่อง) ละอันตราย เข้าไปสงบอันตราย สลัดทิ้ง
อันตราย ระงับอันตราย คืออมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มี
อันตราย
คำว่า ใด ในคำว่า ธรรมใดไม่มีอะไร ๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน
คำว่า ไม่มีอะไร ๆ... เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีสิ่งไร ๆ เปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ
เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้
คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้ง
ภายในและภายนอก รวมความว่า ธรรมใดไม่มีอะไร ๆ ที่ไหนเปรียบได้ ด้วยเหตุนั้น
พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
ธรรมใดไม่มีอะไร ๆ ที่ไหนเปรียบได้
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม
ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา
เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :369 }