เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ทำลายความมืด อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำลาย คือ ลด ละ
กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะ
โทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด
เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต ซึ่งทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้
ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
คำว่า ประทับนั่งอยู่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์
รวมความว่า ประทับนั่งอยู่
พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา 3 ละมัจจุราชได้
นั่งห้อมล้อมพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับนั่งอยู่ที่ข้างภูเขา
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ เพราะทรงสงัดจากความ
ขวนขวายทั้งปวงแล้ว พระองค์ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรม
แล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก1 พระผู้มีพระภาค
ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ทรงเป็นเอกบุรุษ ประทับนั่งทำลาย
ความมืดอยู่
คำว่า ทรงรุ่งเรือง ในคำว่า พระโคดมนั้น ... ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี
อธิบายว่า รุ่งเรือง คือ ทรงมีความรู้ ทรงเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า ทรงแผ่รัศมี ได้แก่ ทรงแผ่รัศมี คือ ทรงแผ่แสงสว่าง แผ่โอภาส แผ่
แสงสว่างดุจประทีป แผ่แสงสว่างดุจโคมไฟ แผ่แสงสว่างรุ่งโรจน์ แผ่แสงโชติช่วง
รวมความว่า พระโคดมนั้น ... ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี
คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ
คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มีพระปัญญา

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 28/149-150

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :366 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
เป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยความตรวจสอบ มากด้วยปัญญา
เพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วยธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วย
ปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปใน
ปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่
ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งรถ
ควันเป็นเครื่องปรากฏแห่งไฟ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏแห่งรัฐ
ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏของหญิง1
พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย
มีพระปัญญาเป็นยอดธง มีพระปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วย
ความตรวจสอบ มากด้วยปัญญาเพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วย
ธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วยปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอน
ไปในปัญญานั้น โอนไปในปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อไปในปัญญานั้น
มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ
คำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวางแผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น
ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง
งมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ2
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น ฉะนั้น
พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้มีพระปัญญาดุจภูริ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจ
ภูริ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 สํ.ส. 15/72/47, ขุ.ชา. 28/1841 /326
2 ดูรายละเอียดข้อ 5/58

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :367 }