เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็น
อย่างไร
คือ สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8 ตรัสเรียกว่า ทางสายเอก
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเห็นธรรมอันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักมรรคอันเป็นทางสายเอก
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยมรรคนี้1
พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว จึง
ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ ญาณในมรรคทั้ง 4 ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ฯลฯ ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า โพธิ
ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ฯลฯ ตรัสรู้ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติอย่างใดก็ตามที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้ตามลำดับ ควรตรัสรู้
เฉพาะ ควรตรัสรู้ด้วยดี ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง พระผู้มีพระภาคก็
ตรัสรู้ ตรัสรู้ตามลำดับ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้ด้วยดี ตรัสรู้โดยชอบ ทรงบรรลุ ทรง
ถูกต้อง ทรงกระทำให้แจ้งธรรมชาตินั้นทั้งหมด ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ลำพังพระองค์เดียว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็น
อย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 สํ.ม. 19/384/146,409/162, ขุ.ม. (แปล) 29/191/549

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :365 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ทำลายความมืด อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำลาย คือ ลด ละ
กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะ
โทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด
เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต ซึ่งทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้
ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
คำว่า ประทับนั่งอยู่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์
รวมความว่า ประทับนั่งอยู่
พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา 3 ละมัจจุราชได้
นั่งห้อมล้อมพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับนั่งอยู่ที่ข้างภูเขา
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ เพราะทรงสงัดจากความ
ขวนขวายทั้งปวงแล้ว พระองค์ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรม
แล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก1 พระผู้มีพระภาค
ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ทรงเป็นเอกบุรุษ ประทับนั่งทำลาย
ความมืดอยู่
คำว่า ทรงรุ่งเรือง ในคำว่า พระโคดมนั้น ... ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี
อธิบายว่า รุ่งเรือง คือ ทรงมีความรู้ ทรงเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า ทรงแผ่รัศมี ได้แก่ ทรงแผ่รัศมี คือ ทรงแผ่แสงสว่าง แผ่โอภาส แผ่
แสงสว่างดุจประทีป แผ่แสงสว่างดุจโคมไฟ แผ่แสงสว่างรุ่งโรจน์ แผ่แสงโชติช่วง
รวมความว่า พระโคดมนั้น ... ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี
คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ
คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มีพระปัญญา

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 28/149-150

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :366 }