เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ทิชะ(นก)พึงละป่าเล็กแล้วมาอาศัยป่าใหญ่ ที่มีผลไม้มากฉันใด
อธิบายว่า นกเรียกว่า ทิชะ เพราะเหตุไร นกจึงเรียกว่า ทิชะ ทิชะเกิด 2 ครั้ง
คือ จากท้องแม่ และจากฟองไข่ จึงชื่อว่าทิชะ เพราะเหตุนั้น นกจึงเรียกว่า ทิชะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าทิชะ
คำว่า ละป่าเล็กแล้ว ... ฉันใด อธิบายว่า นกละทิ้ง ล่วง ก้าวล่วง ล่วงเลย
ป่าเล็ก คือ ป่าน้อย ที่มีผลไม้น้อย มีอาหารน้อย มีน้ำน้อย ไปถึง ประสบ ได้ป่า คือ
ป่าทึบใหญ่อื่น ที่มีผลไม้มาก มีอาหารมาก มีน้ำมากอยู่ในป่าทึบนั้น ฉันใด รวม
ความว่า ทิชะ(นก)พึงละป่าเล็กแล้วมาอาศัยป่าใหญ่ ที่มีผลไม้มาก ฉันใด
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า อาตมภาพก็ฉันนั้น ละคณาจารย์ผู้มีทรรศนะแคบไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาค เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ เป็นคำที่ทำให้การเปรียบเทียบ
สมบูรณ์
คำว่า ละคณาจารย์ผู้มีทรรศนะแคบ อธิบายว่า พราหมณ์พาวรี และ
พราหมณ์เหล่าอื่น ที่เป็นอาจารย์ของพราหมณ์พาวรีนั้น เปรียบเทียบกับพระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้า ชื่อว่ามีทรรศนะแคบ คือ มีทรรศนะต่ำต้อย มีทรรศนะนิดหน่อย
มีทรรศนะต่ำทราม มีทรรศนะน่ารังเกียจ หรือมีทรรศนะหยาบ อาตมภาพ ละ ทิ้ง
ล่วง ก้าวล่วง ล่วงเลยพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งมีทรรศนะแคบ คือ มีทรรศนะต่ำต้อย
มีทรรศนะนิดหน่อย มีทรรศนะต่ำทราม มีทรรศนะน่ารังเกียจ มีทรรศนะหยาบ
มาพบ คือ ประสบ ได้เฉพาะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีทรรศนะหาประมาณมิได้
มีทรรศนะเลิศ ทรรศนะประเสริฐสุด ทรรศนะวิเศษสุด ทรรศนะชั้นแนวหน้า
ทรรศนะสูงสุด ทรรศนะยอดเยี่ยม ไม่มีใครเสมอ ไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่มีใคร
เปรียบเทียบได้ ไม่มีใครเทียบเทียมได้ ไม่มีบุคคลผู้มีส่วนเปรียบเหมือน ทรงเป็น
เทพยิ่งกว่าเทพ ทรงองอาจกว่านรชน ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจ
พญาช้าง ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษแกล้วกล้า ทรงเป็นบุรุษรับภาระ มี
พระทศพลญาณ ทรงมั่นคง
พญาหงส์พึงไปถึง ประสบ ได้เฉพาะสระใหญ่ที่มนุษย์สร้างไว้ สระอโนดาต
หรือมหาสมุทร มีน้ำที่ไม่กระเพื่อม มีน้ำนับประมาณมิได้ ฉันใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :359 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
อาตมภาพ คือปิงคิยพราหมณ์ ก็ฉันนั้น ได้พบพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ไม่
หวั่นไหว มีพระเดชนับไม่ถ้วน มีพระญาณแตกฉาน มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ทรงฉลาด
ในประเภทปัญญา ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึงจตุเวสารัชชญาณ ทรงน้อมพระ
ทัยไปด้วยศรัทธา1 มีพระองค์ขาวผ่อง ตรัสพระวาจาไม่เป็นสอง ทรงมั่นคง ทรง
มีปฏิญญาอย่างนั้น มิใช่คนเล็ก ๆ ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ทรงลึกซึ้ง มีพระคุณอัน
ประมาณมิได้ มีพระธรรมอันหยั่งถึงยาก ทรงมีรัตนะมากมาย มีพระคุณเสมอด้วย
สาคร ทรงประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ 6 มีพระคุณชั่งไม่ได้2 ไพบูลย์ หาประมาณ
มิได้ ตรัสถึงมรรคแก่ผู้ที่กล่าวถึงพระองค์เช่นนั้น เป็นพระชินเจ้ายอดเยี่ยม เหมือน
เขาพระสุเมรุเลิศกว่าขุนเขา เหมือนครุฑเลิศกว่าพวกนก เหมือนราชสีห์เลิศกว่าหมู่
มฤค เหมือนทะเลเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลาย คือ พระศาสดาพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็น
พระชินเจ้ายอดเยี่ยม ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า อาตมภาพก็ฉันนั้น
ละคณาจารย์ ผู้มีทรรศนะแคบ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่
ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
ทิชะ(นก)พึงละป่าเล็กแล้วมาอาศัยป่าใหญ่
ที่มีผลไม้มากฉันใด อาตมภาพก็ฉันนั้น
ละคณาจารย์ผู้มีทรรศนะแคบ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่
[106] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม
อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่อาตมภาพว่า
เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ (5)

เชิงอรรถ :
1 ทรงน้อมพระทัยไปด้วยศรัทธา ในที่นี้หมายถึงทรงน้อมพระทัยไปในผลสมาบัติบริสุทธิ์ (ขุ.จู.อ.105/ 89)
2 มีพระคุณชั่งไม่ได้ คือปราศจากการชั่ง ใคร ๆ ไม่สามารถชั่งได้ (ขุ.จู.อ. 105/85)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :360 }