เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
โลก 5 คืออุปาทานขันธ์ 5
โลก 6 คือ อายตนะภายใน 6
โลก 7 คือวิญญาณัฏฐิติ1 7
โลก 8 คือโลกธรรม2 8
โลก 9 คือสัตตาวาส3 9
โลก 10 คืออายตนะ4 10
โลก 11 คือกามภพ5 11
โลก 12 คืออายตนะ6 12
โลก 18 คือธาตุ7 18
คำว่า ทรงถึงที่สุดโลก อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุด ทรงบรรลุที่สุด
ทรงถึงส่วนสุด ทรงบรรลุส่วนสุด ฯลฯ ทรงถึงที่ดับ ทรงบรรลุที่ดับแห่งโลก
พระองค์ทรงอยู่ใน (อริยวาสธรรม) แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์
ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทรงถึงที่สุดโลก
คำว่า ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด อธิบายว่า
คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ 2 คือ (1) กรรมภพ (2) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 83/289-290
2 โลกธรรม 8 ได้แก่ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ (ขุ.จู.อ. 104/87)
3 สัตตาวาส 9 คือที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ได้แก่วิญญาณัฏฐิติ 7 อสัญญสัตตภูมิ 1 และเนวสัญญานา-
สัญญายตนภูมิ 1 รวมเป็น 9 (ขุ.จู.อ. 104/87)
4 อายตนะ 10 ได้แก่ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ (ขุ.จู.อ. 104/87)
5 กามภพ 11 ได้แก่อบายภูมิ 4 มนุษยโลก 1 สวรรค์ 6 ชั้น (ขุ.ม.อ. 1/16)
6 อายตนะ 12 ได้แก่อายตนะ 10 รวมใจและธรรมารมณ์จึงเป็น 12 (ขุ.จู.อ. 104/87)
7 ธาตุ 18 คือการกระจายธาตุแต่ละอย่างให้เป็น 3 เช่น จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ จนถึงมโนธาตุ
ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (ขุ.จู.อ. 104/87)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :356 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิททเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
กรรมภพ เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร1 อปุญญาภิสังขาร2 อาเนญชาภิสังขาร3 นี้ชื่อว่ากรรมภพ
ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ เป็นอย่างไร
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่าภพใหม่
อันมีในปฏิสนธิ
พระผู้มีพระภาคทรงล่วง คือ ทรงก้าวล่วง ทรงล่วงเลยกรรมภพ และภพ
ใหม่อันมีในปฏิสนธิแล้ว รวมความว่า ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด
คำว่า ไม่มีอาสวะ ในคำว่า ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ได้แก่
อาสวะ 4 คือ
1. กามาสวะ 2. ภวาสวะ
3. ทิฏฐาสวะ 4. อวิชชาสวะ
อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีอาสวะ
คำว่า ทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์
มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทุกข์ ฯลฯ ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ
อันมีในปฏิสนธิทั้งปวง พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น
พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว รวมความว่า ไม่มีอาสวะ ทรง
ละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา (ขุ.ม.อ. 25/216)
2 อปุญญาภิสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (ขุ.ม.อ. 25/216)
3 อาเนญชาภิสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิ
แห่งจตุตถฌาน (ขุ.ม.อ. 25/216)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :357 }