เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า เพราะเหตุแห่งอะไรเล่า ในคำว่า จะพึงกล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่ง
อะไรเล่า อธิบายว่า เพราะเหตุแห่งอะไร คือ เพราะเหตุอะไร เพราะการณ์อะไร
เพราะต้นเหตุอะไร เพราะปัจจัยอะไร รวมความว่า เพราะเหตุแห่งอะไรเล่า
คำว่า จะพึงกล่าวคำเท็จ ได้แก่ จะพึงกล่าว คือ พูด แสดง ชี้แจงคำเท็จ

ว่าด้วยมุสาวาท
คำว่า จะพึงกล่าวคำเท็จ อธิบายว่า บุคคลพูดคำเท็จ คือ พูดมุสาวาท
พูดเรื่องไม่ดี คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ
อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า
“ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า “รู้” รู้ก็พูดว่า “ไม่รู้” ไม่เห็นก็
พูดว่า “เห็น” หรือเห็นก็พูดว่า “ไม่เห็น” พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง
เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง หรือเพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วย
ประการฉะนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาท มีได้ด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
1. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ
2. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ
3. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 4 อย่าง คือ
1. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาท มีได้ด้วยอาการ 5 อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ 6 อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ 7 อย่าง ฯลฯ
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 8 อย่าง คือ
1. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ
2. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ
3. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :349 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
4. ปิดบังทิฏฐิ
5. ปิดบังความพอใจ
6. ปิดบังความชอบใจ
7. ปิดบังความสำคัญ
8. ปิดบังความจริง ฯลฯ
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 8 อย่างเหล่านี้ เพราะเหตุอะไร คนจึงกล่าวคำมุสา
คือ พูด แสดง ชี้แจงคำมุสา รวมความว่า จะพึงกล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่งอะไรเล่า
ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
(พระปิงคิยเถระกล่าวแก่พราหมณ์พาวรีท่ามกลางชุมชน ดังนี้)
อาตมภาพจักกล่าวบทขับที่เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ปราศจากมลทิน
มีพระปัญญาดุจภูริ ปราศจากกาม
ทรงไร้กิเลสดังป่า ผู้เป็นนาคะ
ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น
จะพึงกล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่งอะไรเล่า
[103] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
อาตมภาพจักกล่าวถ้อยคำ
ที่ประกอบด้วยการสรรเสริญพระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงละมลทินและโมหะได้แล้ว
ผู้ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้ ณ บัดนี้ (2)
คำว่า ผู้ทรงละมลทินและโมหะได้แล้ว อธิบายว่า
คำว่า มลทิน อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ามลทิน โทสะ ชื่อว่ามลทิน โมหะ
ชื่อว่ามลทิน มานะ ชื่อว่ามลทิน ทิฏฐิ ชื่อว่ามลทิน กิเลส ชื่อว่ามลทิน ทุจริต
ทุกอย่างและกรรมที่นำไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่ามลทิน

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ม. (แปล) 29/54/185-186

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :350 }