เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละกิเลสกามได้แล้ว เพราะ
เป็นผู้กำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามได้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรง
ใคร่ในกาม คือ ไม่ทรงต้องการ ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังในกาม
ชนเหล่าใดใคร่กาม ต้องการ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังกาม ชนเหล่านั้น
ชื่อว่ายังใคร่กาม กำหนัดในราคะ มีความสำคัญในสัญญา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใคร่ในกาม ไม่ทรงต้องการ ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย
ไม่มุ่งหวังในกาม ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีกาม คือ ปราศจากกาม
เป็นผู้สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว
คลายราคะแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว
ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตน
อันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ทรงปราศจากกาม
คำว่า ทรงไร้กิเลสดังป่า อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ากิเลสดังป่า โทสะ ชื่อว่ากิเลส
ดังป่า โมหะ ชื่อว่ากิเลสดังป่า โกธะ ชื่อว่ากิเลสดังป่า อุปนาหะ ชื่อว่ากิเลส
ดังป่า ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากิเลสดังป่า
กิเลสดังป่าเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีกิเลสดังป่า ปราศจากกิเลสดังป่า ไร้กิเลส
ดังป่า คือ บำราศกิเลสดังป่า ทรงละกิเลสดังป่าได้แล้ว หลุดพ้นกิเลสดังป่าได้แล้ว
ก้าวล่วงกิเลสดังป่าทั้งปวงแล้ว รวมความว่า ทรงไร้กิเลสดังป่า
คำว่า ผู้เป็นนาคะ อธิบายว่า ผู้เป็นนาคะ คือ พระผู้มีพระภาคชื่อว่านาคะ
เพราะไม่ทรงทำความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทรงถึง พระผู้มีพระ-
ภาคชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา ฯลฯ พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่านาคะ1
เพราะไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ทรงปราศจากกาม ทรงไร้กิเลส
ดังป่า ผู้เป็นนาคะ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 27/145-146

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :348 }