เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 6. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า เมื่อเจริญ ได้แก่ เมื่อเจริญ คือ เมื่อเสพคุ้น ทำให้มาก รวมความว่า
เมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด
คำว่า (เพราะ) มรรคนั้น(เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง ได้แก่
มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมายนะ
นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิ และสังกมะ
คำว่า (เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง ได้แก่ (เป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง คือ เพื่อบรรลุ
ถึงฝั่ง เพื่อตามบรรลุให้ถึงฝั่ง เพื่อข้ามชราและมรณะ รวมความว่า (เพราะ)มรรคนั้น
(เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่าปารายนะ
อธิบายว่า เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น
ได้แก่ อมตนิพพาน อันเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็น
ที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง
มรรค เรียกว่า อายนะ
คำว่า ว่า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลัง
เข้าด้วยกัน รวมความว่า เพราะฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่าปารายนะ ด้วยเหตุนั้น
พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า
บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด
จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้
(เพราะ)มรรคนั้น(เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง
เพราะฉะนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่าปารายนะ
ปารายนัตถุติคาถานิทเทสที่ 17 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :345 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส1
ว่าด้วยเพลงขับตามธรรมเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
[102] (พระปิงคิยเถระกล่าวแก่พราหมณ์พาวรีท่ามกลางชุมชน ดังนี้)
อาตมภาพจักกล่าวบทขับที่เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ปราศจากมลทิน
มีพระปัญญาดุจภูริ ปราศจากกาม
ทรงไร้กิเลสดังป่า ผู้เป็นนาคะ
ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น
จะพึงกล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่งอะไรเล่า (1)
คำว่า อาตมภาพจักกล่าวบทขับที่เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง อธิบายว่า อาตมภาพ
จักกล่าวบทขับ จักกล่าวบทขับที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จักกล่าวบทขับที่พระพุทธ-
เจ้าทรงบอกแล้ว จักกล่าวบทขับที่พระพุทธเจ้าทรงภาษิตไว้แล้ว รวมความว่า
อาตมภาพจักกล่าวบทขับที่เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านปิงคิยะกล่าว... ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า ปิงคิยะ เป็นชื่อ เป็นการนับ การขนานนาม บัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน นาม
การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะของพระเถระนั้น รวมความว่า
ท่านปิงคิยะกล่าว... ดังนี้
คำว่า ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น อธิบายว่า ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัส
คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1138-1156/551-554

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :346 }