เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 6. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทำให้พอใจแล้ว
ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ
[100] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า)
การพยากรณ์ปัญหาแต่ละปัญหา
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด
ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น
ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ (6)
คำว่า ปัญหาแต่ละปัญหา อธิบายว่า ปัญหาของท่านอชิตะ แต่ละปัญหา
ปัญหาของท่านติสสเมตเตยยะ แต่ละปัญหา ฯลฯ ปัญหาของท่านปิงคิยะ แต่ละ
ปัญหา รวมความว่า ปัญหาแต่ละปัญหา
คำว่า พระพุทธเจ้า ในคำว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด
ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1
คำว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด อธิบายว่า ที่พระพุทธ-
เจ้าทรงบอกแล้ว คือ ทรงแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว เปิดเผยแล้ว
จำแนกแล้ว ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้วโดยประการใด รวมความว่า ที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้วโดยประการใด
คำว่า ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น อธิบายว่า พึงปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ
การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ
ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม รวมความว่า ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น
คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า
อมตนิพพาน คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :343 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 6. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
กิเลส ขันธ์ และอภิสังขารเรียกว่า ที่มิใช่ฝั่ง
คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ บรรลุฝั่ง ถูก
ต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่งได้ รวมความว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ ด้วย
เหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า
การพยากรณ์ปัญหาแต่ละปัญหา
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด
ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น
ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้
[101] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า)
บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด
จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้
(เพราะ) มรรคนั้น (เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง
เพราะฉะนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่าปารายนะ (7)
คำว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร
เรียกว่า ที่มิใช่ฝั่ง
อมตนิพพาน คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง
คำว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ บรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง
ทำให้แจ้งฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่งได้ รวมความว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้
คำว่า มรรค ในคำว่า เมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ1 เรียกว่า มรรค
คำว่า อันสูงสุด ได้แก่ เลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด
ยอดเยี่ยม รวมความว่า มรรคอันสูงสุด

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 99/342

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :344 }