เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 6. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม อธิบายว่า ปัญหานั้นนั่นแหละ เป็นธรรม
การวิสัชนา เป็นอรรถ บุคคลรู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งอรรถแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงอรรถ
คำว่า รู้ทั่วถึงธรรม ได้แก่ รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งธรรมแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงธรรม
คำว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม อธิบายว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ
การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ
ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม รวมความว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม
คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า อมตนิพพาน
ตรัสเรียกว่า ฝั่งแห่งชราและมรณะ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่
สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่
เย็นสนิท
คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ
บรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน รวมความว่า ก็จะ
พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน
คำว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง อธิบายว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
คือ ให้บรรลุฝั่ง ให้บรรลุถึงฝั่ง ให้ตามบรรลุถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อข้ามชราและมรณะ
รวมความว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
คำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ในคำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น
ธรรมบรรยายนี้ อธิบายว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น คือ เพราะการณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น รวมความว่า เพราะเหตุดังกล่าว
มานี้นั้น
คำว่า ธรรมบรรยายนี้ ได้แก่ ปารายนวรรคนี้ รวมความว่า เพราะเหตุดัง
กล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :335 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 6. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า จึงชื่อว่า ปารายนะ อธิบายว่า อมตนิพพานเรียกว่า ฝั่งแห่งชรา
และมรณะ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่
สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท มรรคเรียกว่า
อายนะ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
คำว่า จึงชื่อว่า ได้แก่ เป็นชื่อ เป็นการนับ การขนานนาม บัญญัติ ฯลฯ
ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า จึงชื่อว่าปารายนะ เพราะเหตุนั้น พระธรรม-
สังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า
ถ้าแม้บุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาแต่ละปัญหาแล้ว ปฏิบัติ
ธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน เพราะ
ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ จึงชื่อว่า
ปารายนะ
[95] (1) อชิตะ (2) ติสสเมตเตยยะ
(3) ปุณณกะ (4) เมตตคู (5) โธตกะ
(6) อุปสีวะ (7) นันทะ (8) เหมกะ (1)
[96] (9) โตเทยยะ (10) กัปปะ
(11) ชตุกัณณิ ผู้เป็นบัณฑิต (12) ภัทราวุธ (13) อุทัย
(14) โปสาละ (15) โมฆราช ผู้มีปัญญา
(16) ปิงคิยะ ผู้เป็นมหาฤๅษี (2)
[97] พราหมณ์ 16 คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เมื่อจะทูลถามปัญหาที่ลุ่มลึก
จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ (3)
คำว่า นี้ ในคำว่า พราหมณ์ 16 คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้แก่
พราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่งทั้ง 16 คน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :336 }