เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 6. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า ได้ทรงรับอาราธนา ในคำว่า ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้ง
...ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว ได้แก่ ได้ทรงรับอาราธนา คือ รับอัญเชิญแล้ว
คำว่า กราบทูลหลายครั้ง ได้แก่ กราบทูลหลายครั้ง คือ ทูลถามแล้วถามอีก
ทูลขอแล้วขออีก ทูลอัญเชิญแล้วอัญเชิญอีก ทูลให้ทรงประกาศแล้วประกาศอีก
คำว่า ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว อธิบายว่า ได้ทรงพยากรณ์แล้ว คือ บอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหาแล้ว รวมความว่า
ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้ง...ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว ด้วยเหตุนั้น
พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว
เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลาย
ครั้งจากพราหมณ์ 16 คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว”
[94] ถ้าแม้บุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาแต่ละปัญหาแล้ว
ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน
เพราะธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้
จึงชื่อว่าปารายนะ
คำว่า ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาแต่ละปัญหา อธิบายว่า ถ้าแม้... แห่งปัญหาของ
ท่านอชิตะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านปุณณกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้...
แห่งปัญหาของท่านเมตตคูแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโธตกะแต่ละ
ปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านอุปสีวะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหา
ของท่านนันทกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านเหมกะแต่ละปัญหา
ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโตเทยยะแต่ละปัญหา ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาของท่าน
กัปปะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านชตุกัณณิแต่ละปัญหา ถ้าแม้...
แห่งปัญหาของท่านภัทราวุธแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านอุทัยแต่ละ
ปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโปสาละแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของ
ท่านโมฆราชแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านปิงคิยะแต่ละปัญหา รวม
ความว่า ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาแต่ละปัญหา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :334 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 6. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม อธิบายว่า ปัญหานั้นนั่นแหละ เป็นธรรม
การวิสัชนา เป็นอรรถ บุคคลรู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งอรรถแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงอรรถ
คำว่า รู้ทั่วถึงธรรม ได้แก่ รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งธรรมแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงธรรม
คำว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม อธิบายว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ
การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ
ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม รวมความว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม
คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า อมตนิพพาน
ตรัสเรียกว่า ฝั่งแห่งชราและมรณะ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่
สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่
เย็นสนิท
คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ
บรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน รวมความว่า ก็จะ
พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน
คำว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง อธิบายว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
คือ ให้บรรลุฝั่ง ให้บรรลุถึงฝั่ง ให้ตามบรรลุถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อข้ามชราและมรณะ
รวมความว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
คำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ในคำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น
ธรรมบรรยายนี้ อธิบายว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น คือ เพราะการณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น รวมความว่า เพราะเหตุดังกล่าว
มานี้นั้น
คำว่า ธรรมบรรยายนี้ ได้แก่ ปารายนวรรคนี้ รวมความว่า เพราะเหตุดัง
กล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :335 }