เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ทำให้ง่าย ประกาศธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ และปฏิปทาเครื่องดำเนินไป
สู่นิพพาน
คำว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ได้ พึงรู้
แจ่มแจ้ง พึงรู้เฉพาะ พึงแทงตลอด พึงบรรลุ พึงถูกต้อง พึงทำให้แจ้งได้ รวมความว่า
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
คำว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ที่อันเป็นเครื่องละ คือ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชราและมรณะ คือ
อมตนิพพานในโลกนี้ รวมความว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ทิศใหญ่ 4 ทิศน้อย 4 ทิศเบื้องบน 1
ทิศเบื้องล่าง 1 เหล่านี้รวมเป็น 10
สิ่งใด ๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน
ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
[92] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ)
เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต
เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงำแล้ว
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป (4)
คำว่า เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต ได้แก่ ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต คือ ผู้ไปตาม
ตัณหา ผู้ไปตามอำนาจตัณหา ผู้ซ่านไปตามตัณหา ผู้จมอยู่ในตัณหา ผู้ถูกตัณหา
ครอบงำ มีจิตถูกตัณหายึดครอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :330 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า หมู่มนุษย์ เป็นชื่อเรียกสัตว์
คำว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ พิจารณา คือ แลเห็น มอง ดู เพ่งพินิจ
พิจารณาดู รวมความว่า เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต
คำว่า ปิงคิยะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1 รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ
คำว่า เกิดความเร่าร้อน ในคำว่า เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงำแล้ว
อธิบายว่า เกิดความเร่าร้อนเพราะชาติ เกิดความเร่าร้อนเพราะชรา เกิดความ
เร่าร้อนเพราะพยาธิ เกิดความเร่าร้อนเพราะมรณะ เกิดความเร่าร้อนเพราะโสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เกิดความเร่าร้อนเพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดใน
นรก ฯลฯ เกิดความเร่าร้อนเพราะทุกข์คือทิฏฐิวิบัติ คือ เกิดความจัญไร เกิด
อุปัทวะ(อันตราย) เกิดอุปสรรค รวมความว่า เกิดความเร่าร้อน
คำว่า ถูกชราครอบงำแล้ว ได้แก่ ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ คือ กลุ้มรุม
ตามประกอบ ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง
ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า เกิดความเร่าร้อน ถูกชรา
ครอบงำแล้ว
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น เธอมองเห็นโทษแห่งตัณหาอย่างนี้ รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะ
ฉะนั้น
คำว่า เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทำโดยเคารพ ทำ
ติดต่อ ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย2 รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะ
ฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48
2 ดูรายละเอียดข้อ 25/139-140

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :331 }