เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยความประมาท
คำว่า ยังประมาท อธิบายว่า ขอกล่าวถึงความประมาท ความปล่อยจิตไป
หรือการเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกามคุณ 5 ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำที่ไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อ
หย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่
ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาท ในการเจริญ
กุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่
ประมาทมีลักษณะเช่นว่า นี้ตรัสเรียกว่า ความประมาท ชนทั้งหลายผู้ประกอบ
ด้วยความประมาทนี้ ชื่อว่าผู้ประมาท รวมความว่า ชนทั้งหลาย...ยังประมาท
เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่
ประมาท อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ
ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เธอเห็นโทษในรูปอย่างนี้อยู่ รวมความว่า ปิงคิยะ
เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คำว่า จงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทำโดยเคารพ ทำติดต่อ
ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น
เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คำว่า รูป ในคำว่า ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ได้แก่ มหา-
ภูตรูป 41 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 42
คำว่า ละรูปเสียให้ได้ อธิบายว่า ละรูป คือ ละทิ้งรูป ละรูปให้หมด ทำให้
รูปหมดสิ้นไป ให้รูปถึงความไม่มีอีก
คำว่า เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า รูปของเธอพึงดับเสียในภพนี้แหละ
ฉันใด ปฏิสนธิไม่พึงบังเกิดในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุ กามภพ รูปภพ
หรืออรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ หรือเนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ
จตุโวการภพ หรือปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป

เชิงอรรถ :
1 มหาภูตรูป 4 ดูเชิงอรรถข้อ 5/58
2 รูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ดูเชิงอรรถข้อ 5/58

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :328 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ได้แก่ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดขึ้น ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดขึ้น คือ พึงดับ
พึงเข้าไปสงบ พึงถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ พึงระงับไปในภพนี้เอง ฉันนั้น รวมความว่า
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า
ชนทั้งหลายเห็นชนอื่น ๆ เดือดร้อนอยู่
เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
[91] (ท่านปิงคิยะทูลถามว่า)
ทิศใหญ่ 4 ทิศน้อย 4 ทิศเบื้องบน 1
ทิศเบื้องล่าง 1 เหล่านี้รวมเป็น 10
สิ่งใด ๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน
ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ (3)
คำว่า ทิศใหญ่ 4 ทิศน้อย 4 ทิศเบื้องบน 1 ทิศเบื้องล่าง 1 เหล่านี้รวม
เป็น 10 ได้แก่ ทิศทั้ง 10
คำว่า สิ่งใด ๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ
หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย อธิบายว่า สิ่งไร ๆ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์
ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรแนะนำ
หรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์
ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ
หรือไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ รวมความว่า สิ่งใด ๆ ในโลก
ที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :329 }