เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ศีรษะบ้าง เหล่าสัตว์พากันลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะ
รูปเป็นเหตุ เพราะรูปเป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ อย่างนี้ (ชนทั้งหลาย)เห็น
คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งเหล่าสัตว์
ผู้ลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน อย่างนี้ รวมความว่า เห็นชน
อื่น ๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลาย
คำว่า ปิงคิยะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1 รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ปิงคิยะ
คำว่า เจ็บปวด ในคำว่า ชนทั้งหลาย...ยังประมาท เจ็บปวดเพราะรูป
ทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อมเจ็บปวด คือ ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย(ทุกข์กาย) ทุกข์ใจ คือ ย่อมเจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคตา ได้แก่ เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคหู ฯลฯ ด้วยโรคกาย ฯลฯ ด้วยสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง
ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน รวมความว่า เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ชนทั้งหลาย เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย
ทุกข์ใจ เพราะจักษุเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป ฯลฯ
เพราะโสตะ ฯลฯ เพราะฆานะ ฯลฯ เพราะชิวหา ฯลฯ เพราะกาย ฯลฯ
เพราะรูป ฯลฯ เพราะเสียง ฯลฯ เพราะกลิ่น ฯลฯ เพราะรส ฯลฯ เพราะโผฏฐัพพะ
ฯลฯ เพราะตระกูล ฯลฯ เพราะคณะ ฯลฯ เพราะอาวาส ฯลฯ เพราะลาภ ฯลฯ
เพราะยศ ฯลฯ เพราะสรรเสริญ ฯลฯ เพราะสุข ฯลฯ เพราะจีวร ฯลฯ
เพราะบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเสนาสนะ ฯลฯ เพราะคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป
คำว่า ชนทั้งหลาย ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา และมนุษย์

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :327 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยความประมาท
คำว่า ยังประมาท อธิบายว่า ขอกล่าวถึงความประมาท ความปล่อยจิตไป
หรือการเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกามคุณ 5 ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำที่ไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อ
หย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่
ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาท ในการเจริญ
กุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่
ประมาทมีลักษณะเช่นว่า นี้ตรัสเรียกว่า ความประมาท ชนทั้งหลายผู้ประกอบ
ด้วยความประมาทนี้ ชื่อว่าผู้ประมาท รวมความว่า ชนทั้งหลาย...ยังประมาท
เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่
ประมาท อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ
ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เธอเห็นโทษในรูปอย่างนี้อยู่ รวมความว่า ปิงคิยะ
เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คำว่า จงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทำโดยเคารพ ทำติดต่อ
ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น
เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คำว่า รูป ในคำว่า ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ได้แก่ มหา-
ภูตรูป 41 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 42
คำว่า ละรูปเสียให้ได้ อธิบายว่า ละรูป คือ ละทิ้งรูป ละรูปให้หมด ทำให้
รูปหมดสิ้นไป ให้รูปถึงความไม่มีอีก
คำว่า เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า รูปของเธอพึงดับเสียในภพนี้แหละ
ฉันใด ปฏิสนธิไม่พึงบังเกิดในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุ กามภพ รูปภพ
หรืออรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ หรือเนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ
จตุโวการภพ หรือปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป

เชิงอรรถ :
1 มหาภูตรูป 4 ดูเชิงอรรถข้อ 5/58
2 รูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ดูเชิงอรรถข้อ 5/58

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :328 }