เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกำลัง
ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด
ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้เลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
[90] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ)
ชนทั้งหลายเห็นชนอื่น ๆ เดือดร้อนอยู่
เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป (2)

ว่าด้วยวิธีการลงโทษ
คำว่า เพราะรูปทั้งหลาย ในคำว่า เห็นชนอื่น ๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูป
ทั้งหลาย ได้แก่ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 อธิบายว่า เหล่าสัตว์
พากันลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะรูปเป็นเหตุ เพราะรูป
เป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ พระราชาทรงรับสั่งให้ลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ
คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง
ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง
วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟ
ยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง
พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจน
ล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง
สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ด
เกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญ
กษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้
ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้ว
ถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่าน
บ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :326 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ศีรษะบ้าง เหล่าสัตว์พากันลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะ
รูปเป็นเหตุ เพราะรูปเป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ อย่างนี้ (ชนทั้งหลาย)เห็น
คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งเหล่าสัตว์
ผู้ลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน อย่างนี้ รวมความว่า เห็นชน
อื่น ๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลาย
คำว่า ปิงคิยะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1 รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ปิงคิยะ
คำว่า เจ็บปวด ในคำว่า ชนทั้งหลาย...ยังประมาท เจ็บปวดเพราะรูป
ทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อมเจ็บปวด คือ ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย(ทุกข์กาย) ทุกข์ใจ คือ ย่อมเจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคตา ได้แก่ เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคหู ฯลฯ ด้วยโรคกาย ฯลฯ ด้วยสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง
ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน รวมความว่า เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ชนทั้งหลาย เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย
ทุกข์ใจ เพราะจักษุเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป ฯลฯ
เพราะโสตะ ฯลฯ เพราะฆานะ ฯลฯ เพราะชิวหา ฯลฯ เพราะกาย ฯลฯ
เพราะรูป ฯลฯ เพราะเสียง ฯลฯ เพราะกลิ่น ฯลฯ เพราะรส ฯลฯ เพราะโผฏฐัพพะ
ฯลฯ เพราะตระกูล ฯลฯ เพราะคณะ ฯลฯ เพราะอาวาส ฯลฯ เพราะลาภ ฯลฯ
เพราะยศ ฯลฯ เพราะสรรเสริญ ฯลฯ เพราะสุข ฯลฯ เพราะจีวร ฯลฯ
เพราะบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเสนาสนะ ฯลฯ เพราะคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป
คำว่า ชนทั้งหลาย ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา และมนุษย์

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :327 }