เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า หูฟังไม่ชัด อธิบายว่า โสตประสาทไม่แจ่มใส คือ หูตึง หูหนัก ไม่สดใส
ข้าพระองค์ฟังเสียงไม่ชัด ด้วยโสตประสาทเช่นนั้น รวมความว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส
หูฟังไม่ชัด
คำว่า ขอข้าพระองค์อย่า... เสียหาย ในคำว่า ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคน
หลงเสียหายในระหว่างนี้เลย อธิบายว่า ข้าพระองค์อย่าสูญเสีย ข้าพระองค์
อย่าเสื่อมเสีย ข้าพระองค์อย่าเสียหาย
คำว่า เป็นคนหลง ได้แก่ เป็นคนหลง คือ ไปตามอวิชชา ไม่มีความรู้ ไม่มี
ปัญญาแจ่มกระจ่าง มีปัญญาทึบ
คำว่า ในระหว่าง อธิบายว่า ข้าพระองค์ไม่รู้ ไม่บรรลุ ไม่ทราบ ไม่ได้
ไม่ได้สัมผัส ไม่ได้ทำให้แจ้งธรรม ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของพระองค์แล้ว พึงทำ
กาลกิริยาเสียในระหว่าง รวมความว่า ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายใน
ระหว่างนี้เลย
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิ-
บาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพาน และ
ปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม
คำว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว
รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง รวมความว่า ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกธรรม...ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
คำว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ที่เป็นเครื่องละ คือ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชราและมรณะ คือ
อมตนิพพานในโลกนี้เอง รวมความว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ด้วย
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :325 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกำลัง
ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด
ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้เลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
[90] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ)
ชนทั้งหลายเห็นชนอื่น ๆ เดือดร้อนอยู่
เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป (2)

ว่าด้วยวิธีการลงโทษ
คำว่า เพราะรูปทั้งหลาย ในคำว่า เห็นชนอื่น ๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูป
ทั้งหลาย ได้แก่ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 อธิบายว่า เหล่าสัตว์
พากันลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะรูปเป็นเหตุ เพราะรูป
เป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ พระราชาทรงรับสั่งให้ลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ
คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง
ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง
วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟ
ยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง
พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจน
ล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง
สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ด
เกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญ
กษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้
ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้ว
ถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่าน
บ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :326 }