เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 15. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ย่อมมองเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ โดยความ
เป็นอัตตา เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในอัตตา หรือเห็นอัตตาในวิญญาณ
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนาม
คือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น
ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือ
ขัดแย้ง ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งไม่เป็นความ
จริงว่าเป็นจริงเห็นปานนี้ จนถึงทิฏฐิ 62 นี้ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ
คำว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย อธิบายว่า พึงถอน คือ พึงถอนขึ้น ฉุดขึ้น
ชักขึ้น ลากขึ้น เพิกขึ้น ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงไม่มีอีก รวม
ความว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย
คำว่า เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ อธิบายว่า พึงข้าม
มัจจุราช คือ พึงข้าม พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยซึ่งชราบ้าง มรณะบ้าง
ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
คำว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ อธิบายว่า พิจารณาเห็น คือ
ประจักษ์แจ้ง เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งโลกอย่างนี้ รวม
ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้
คำว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น อธิบายว่า มัจจุชื่อว่าพญามัจจุราช มารชื่อว่า
พญามัจจุราช ความตายชื่อว่าพญามัจจุราช
คำว่า จึงไม่เห็น ได้แก่ ไม่เห็น ไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะ
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเนื้อป่า
เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะไม่ได้พบกับนายพรานเนื้อ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกามและอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เรา
เรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะ
ทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :321 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 16. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่อง
ใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิด
จากสมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ภิกษุทั้งหลาย เรา
เรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะ
ทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการ
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ ด้วย
มนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้
ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย
อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “อะไร น้อยหนึ่งย่อมไม่มี” ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯลฯ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลาย
ของเธอย่อมสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด
คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย
เป็นผู้ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ย่อมวางใจเดิน ยืน นั่ง นอน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่ได้พบมารใจบาป1 รวมความว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เชิงอรรถ :
1 ม.มู. 12/287/250-251

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :322 }